ชื่อบทความ |
|
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงกับบทบาทของยากลุ่ม Beta-blockers |
ผู้เขียนบทความ |
|
ภก.นัทพล มะลิซ้อน |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-1-000-005-05-2563 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
การเผยแพร่บทความ |
|
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
26 พ.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ |
|
25 พ.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน และลดโอกาสการเสียชีวิตได้ ตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตของประเทศไทยและหลายๆ หน่วยงานในต่างประเทศ ได้แนะนำให้ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าค่าปกติต้องปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การออกกำลังกาย การปรับสัดส่วนอาหาร การจำกัดปริมาณเกลือและแอลกอฮอล์ และเริ่มพิจารณาการใช้ยาลดความดันโลหิตโดยเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อให้ได้เป้าหมายความดันโลหิตอยู่ในช่วง 120-130/70-79 มม.ปรอท โดยการเลือกใช้ยาจะขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายโดยพิจารณาจากค่าความดันโลหิต โรคประจำตัว อวัยวะที่เสียหายจากความดันโลหิตสูง (target organ damage) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตกลุ่มหนึ่งที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตได้ดีเทียบเท่ากับยากลุ่มอื่น สามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และราคาไม่สูง แต่ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายถึงแม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เป็นข้อคำนึงที่เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องศึกษา เพื่อพิจารณาเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา
คำสำคัญ
Hypertension, Antihypertensive, Beta-blockers, โรคความดันโลหิตสูง, ยาลดความดันโลหิต
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์
ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)