ชื่อบทความ |
|
Cannabidiol และความผิดปกติทางจิตเวช |
ผู้เขียนบทความ |
|
รศ.ดร.วันทนา เหรียญมงคล และ รศ.ดร.ฉวีวรรณ รัตนจามิตร |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-1-000-002-03-2563 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
การเผยแพร่บทความ |
|
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
31 มี.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ |
|
30 มี.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3.25 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
Cannabidiol (CBD) เป็นสารจำพวก cannabinoids ที่แยกได้จากกัญชา CBD มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาค่อนข้างกว้าง และไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีรายงานการนำไปใช้ในการแพทย์ เช่น รักษาอาการปวดเรื้อรัง โรคลมชักบางชนิดที่ไม่สามารถควบคุมด้วยยาต้านชักมาตรฐาน ในบทความนี้ได้ทำการรวบรวมการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ CBD สำหรับรักษาโรคทางจิตเวช โดยอาจเป็นการใช้เป็นยาเดี่ยว และ/หรือร่วมกับการรักษาอย่างอื่น ในการศึกษาแบบสุ่มควบคุม (randomized controlled trials, RCT) ประเมินผลของ CBD ในสภาวะพยาธิทางจิต (psychopathological) เช่น การใช้สารเสพติด โรคจิต วิตกกังวล รบกวนทางอารมณ์ และความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ เช่น การบกพร่องของการรู้คิด (cognitive) การนอนหลับ การกิน ย้ำคิดย้ำทำ และภาวะผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder/ PTSD เป็นต้น ข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ CBD ในการนำไปใช้รักษาความผิดปกติทางจิตเวชยังมีจำกัด จากรายงานการศึกษา CBD มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นยาที่ใช้รักษาความผิดปกติทางจิตเวช เช่น ความผิดปกติจากการเสพติดยา โรคจิตเรื้อรัง และวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานทางคลินิกยังมีจำกัด จำเป็นต้องมีการศึกษาโดยใช้ขนาดตัวอย่างหรือจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น เพื่อประเมินผลทางคลินิกของ CBD ในการนำไปใช้ในการรักษาทางจิตเวช
คำสำคัญ
cannabinoid, กัญชา, การออกฤทธิ์, ยาทางจิตเวช, สภาวะพยาธิทางจิต
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์
ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)
http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์