ชื่อบทความ |
|
EPIDIOLEX® สำหรับรักษาโรคลมชัก |
ผู้เขียนบทความ |
|
รศ.ดร.วันทนา เหรียญมงคล และ รศ.ดร.ฉวีวรรณ รัตนจามิตร |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-1-000-001-01-2563 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
การเผยแพร่บทความ |
|
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
03 ม.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ |
|
02 ม.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์จากกัญชา EPIDIOLEX ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือ cannabidiol (CBD) ในรูปสารละลายให้โดยวิธีรับประทาน ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับใช้เป็นยาเสริมในการรักษาอาการชักที่สัมพันธ์กับ Lennox-Gastaut syndrome (LGS) หรือ Dravet syndrome (DS) ในผู้ป่วยที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป เริ่มต้นให้ขนาด 2.5 mg/kg วันละ 2 ครั้ง (5 mg/kg/วัน) หลังจากสัปดาห์แรก สามารถปรับเพิ่มเป็นขนาดที่ใช้ควบคุมอาการ 5 mg/kg วันละ 2 ครั้ง (10 mg/kg/วัน) หลังจากบริหารยา CBD โดยวิธีรับประทาน พบว่า เวลาที่ระดับความเข้มข้นของ CBD สูงสุด (Tmax) ในพลาสมา ประมาณ 2.5-5 ชั่วโมง CBD และเมแทบอไลต์จับกับโปรตีนในพลาสมาได้มากกว่า 94% CBD ถูกแปรสภาพ (metabolized) โดย CYP3A4 และ CYP2C19 isoenzymes ที่ตับ แล้วขับออกทางอุจจาระเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่กำจัดออกทางปัสสาวะ ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัด CBD ในพลาสมา มีค่าประมาณ 56-61 ชั่วโมง การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยที่เป็น LGS และ DS พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ CBD ขนาด 20 mg/kg/วัน เป็นเวลา 14 สัปดาห์ มีค่าความถี่ของการชักลดลงจากเริ่มต้น (baseline) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ placebo อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่ คือ ง่วงซึม ท้องเสีย อ่อนเพลีย และความอยากอาหารลดลง
คำสำคัญ
EPIDIOLEX, Cannabidiol, Lennox-Gastaut syndrome, Dravet syndrome, ฤทธิ์ต้านการชัก
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์
http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)