ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
การตรวจคัดกรองโรค (Screening of disease)
ชื่อบทความ การตรวจคัดกรองโรค (Screening of disease)
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.กุสาวดี เมลืองนนท์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-005-12-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 ธ.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 12 ธ.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การตรวจคัดกรองโรคมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกผู้ที่มีโรคให้ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาก่อนที่จะแสดงอาการของโรคโดยผู้ป่วยเริ่มมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ การตรวจคัดกรองอาจเป็นวิธีการตรวจทางคลินิก การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการทดสอบอื่นๆ ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคจึงต้องมีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) หมายถึง มีความสามารถแยกระหว่างผู้ที่มีความเสี่ยงกับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค และมีความเที่ยงตรง (precision) หมายถึง ผลจากการใช้เครื่องมือตรวจคัดกรองซ้ำหลายครั้งจะให้ผลใกล้เคียงเดิมเสมอ ความถูกต้องและแม่นยำประเมินจาก ความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (specificity) ค่าทำนายผลบวก (positive predictive value) ค่าทำนายผลลบ (negative predictive value) และค่าความถูกต้องรวม (overall validity) การจัดให้มีการตรวจคัดกรองโรค ควรพิจารณาจากลักษณะจำเพาะของโรคนั้น ได้แก่ โรคนั้นเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจพบได้ในระยะก่อนมีอาการ วิธีการตรวจคัดกรองจะต้องปลอดภัย มีประสิทธิผลต่อต้นทุน และควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสียของการตรวจคัดกรองโรค ตลอดจนประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองโรค
คำสำคัญ
การตรวจคัดกรองโรค ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายโรค