ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
การใช้ยาสเตตินเพื่อป้องกันการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง
ชื่อบทความ การใช้ยาสเตตินเพื่อป้องกันการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง
ผู้เขียนบทความ ผศ.ภก.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-002-11-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 พ.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 28 พ.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic cardiovascular diseases; ASCVD) เป็นปัญหาที่สำคัญต่อระบบสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (stable ischemic heart disease) หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease) และโรคหลอดเลือดสมอง (ischemic stroke) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลัก (major risk factors) ของการเกิดโรคได้แก่ ผู้สูงอายุ การเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวที่เป็นญาติสายตรงเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควร (ชายเสียชีวิตเมื่ออายุน้อยกว่า 55 ปี และหญิงเสียชีวิตเมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี) มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ และมีภาวะไขมันในเลือดสูง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้แก่ ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกินหรืออ้วน และบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เป็นต้น ซึ่งหากป้องกันปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยยากลุ่มสเตติน ถือว่าเป็นยาที่มีบทบาทในการป้องกันโรคดังกล่าว ทั้งนี้การเลือกใช้ยาสเตตินมีข้อควรพิจารณาหลายประการ ซึ่งเภสัชกรมีบทบาทในการติดตามการใช้ยาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย กิตติกรรมประกาศ บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ ในโอกาสที่มอบทุนแก่ผู้เขียนสำหรับการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ณ Banner University Medical Center Tucson, University of Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2560
คำสำคัญ
statin, ASCVD, primary prevention