ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฟีโนมิกส์ทางการแพทย์
ชื่อการประชุม โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฟีโนมิกส์ทางการแพทย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-027-04-2568
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 21 -30 เม.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ เภสัชกร นักวิจัย นักศึกษาเภสัชศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาของเทคโนโลยีการหาลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอทำให้การศึกษาชีววิทยามีความก้าวหน้าอย่าง
รวดเร็ว โดยมีการพัฒนาจากเทคโนโลยีการหาลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอที่สามารถสร้างสายดีเอ็นเอได้เพียงไม่ถึง 100
นิวคลีโอไทด์ มาจนกระทั่งสามารถหาสายดีเอ็นเอได้ยาวมากกว่าล้านนิวคลีโอไทด์ เทคโนโลยีดังกล่าวเรียกว่า อ๊อก
ฟอร์ดนาโนพอ (Oxford Nanopore) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทอ๊อกฟอร์ดนาโนพอเทคโนโลยี ประเทศอังกฤษ
นอกเหนือจากการสร้างสายดีเอ็นเอที่ยาวมาก เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีอุปกรณ์ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือที่สามารถพกพาได้
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานทางคลินิก การตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว หรือการตรวจหาเชื้อแบบ
ภาคสนามที่ต้องหาลำดับพันธุกรรมทันทีหลังจากการเก็บตัวอย่าง และยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบ Realtime โดยใช้เพียงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เทคโนโลยีอ๊อกฟอร์ดนาโนพอ สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ได้แก่
การศึกษาจีโนม รวมถึงการศึกษาเมตาจีโนมแบบ Whole Genome (Shotgun) Metagenomics ซึ่งสามารถศึกษา
ได้ถึงระดับหน้าที่ของยีนในสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นต้น เทคโนโลยีอ๊อกฟอร์ดนาโนพอร์ (Oxford Nanopore) มีความ
เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการหาการศึกษาจีโนมของจุลินทรีย์ เพราะสามารถหาลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอที่มีขนาด
ยาวมาก ทำให้สามารถเชื่อมต่อกันจนกระทั่งได้จีโนมที่สมบูรณ์และยังช่วยลดความผิดพลาดในการประกอบจีโนม
(Genome Assembly) เทคโนโลยีอ๊อกฟอร์ดนาโนพอจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาเมตาจีโนมใน
สภาวะต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้จุลินทรีย์ และด้วยอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กทำให้ผู้ใช้สามารถพกพาไปยัง
สถานที่เก็บตัวอย่าง พกพาไปต่างประเทศ รวมถึงนำมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้นโครงการ
อบรมระยะสั้นด้านมัลติโอมิกส์ จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญในการเพิ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ
ในระเบียบวิธีวิจัยดังกล่าว นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงมีความร่วมมือทางการวิจัยที่มากขึ้น และก่อให้เกิดผลงานตีพิมพ์งานวิจัยทางชีววิทยาระบบและการศึกษาข้อมูลแบบ
แผนเมแทบอลิซึมในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
โปรตีโอมิกส์และเมแทโบโลมิกส์เป็นระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 21 ของศาสตร์ชีววิทยาระบบ
(Systems Biology) โดยอาศัยหลักการตรวจวิเคราะห์โปรตีนและสารเมแทบอไลต์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
จากสิ่งส่งตรวจ ได้แก่ ปัสสาวะ พลาสมา ซีรั่ม อุจจาระ และเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ของวิถีเมแทบอลิซึมในโรคหรือความผิดปกติต่างๆที่มีคุณลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกัน และยังสามารถใช้ใน
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำ
สูง วัตถุประสงค์ของการศึกษาโปรตีโอมิกส์และเมแทโบโลมิกส์เพื่อรวบรวมข้อมูลและปริมาณของโปรตีนและสารเม
แทบอไลต์ ทั้งหมด หรือ โปรตีโอม (Proteome) และ เมแทโบโลม (Metabolome) โดยศึกษาสารที่สังเคราะห์
ภายในเซลล์ (Intracellular) และสารที่หลั่งออกมาภายนอกเซลล์ (Extracellular) ซึ่งผลิตได้จากวิถีเมแทบอลิซึม
(Metabolic Pathway) หรือแม้แต่ในผลผลิตทางการเกษตร (Produce) อาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) และ
ยา (Drugs) เพื่อให้เกิดความเข้าใจแบบองค์รวม (Holistic Approach) ของระบบชีวภาพที่ตอบสนองต่อสภาวะ
แวดล้อม อาหาร และยา ผ่านการแสดงออกของพันธุกรรมที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้จากการเปลี่ยนแปลงชนิดและ
ปริมาณของสารชีวโมเลกุลหลากหลายระดับ
ปัจจุบัน การผนวกรวมข้อมูลโอมิกส์ (Omics Data Integration) และชีวสารสนเทศศาสตร์หลังจีโนมิกส์
(Post-genomic Bioinformatics) ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา การแพทย์เฉพาะบุคคล (Personalized
Medicine) และการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) หนึ่งในศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญคือ ฟีโนมิกส์ทาง
การแพทย์ (Medical Phenomics) ซึ่งเน้นการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและชีวภาพของมนุษย์ (Phenotype)
โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning), และการวิเคราะห์
ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างฟีโนไทป์และปัจจัยทางพันธุกรรม
รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวการแพทย์และการขาดแคลนบุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในประเทศไทย การจัด โครงการฝึกอบรมระยะสั้น "Phenomic Medicine: Frontierization
Beyond Cancer Precision Medicine" จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย บุคลากรทาง
การแพทย์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการในการวิเคราะห์
ข้อมูลโอมิกส์ขั้นสูง รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติ ให้แก่นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องใน
การวิเคราะห์ข้อมูลโอมิกส์ขั้นสูง (Omics Data) รวมถึงการประยุกต์ใช้ฟีโนมิกส์ทางการแพทย์ (Phenomic
Medicine) ในการวิจัยทางการแพทย์
2) เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ (AI, Machine Learning และ Big Data
Analytics) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฟีโนไทป์ (Phenotype) และปัจจัยทางพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยด้าน
สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
3) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประยุกต์ใช้โปรตีโอมิกส์และเมแทโบโลมิกส์ (Proteomics & Metabolomics) ใน
การศึกษากระบวนการเมแทบอลิซึม ค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarkers) และพัฒนาการแพทย์เฉพาะบุคคล
(Personalized Medicine) และการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine)
4) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น Oxford Nanopore Sequencing ในการหา
ลำดับพันธุกรรมแบบเรียลไทม์ เพื่อการศึกษาทางจีโนมและเมตาจีโนม รวมถึงการนำไปใช้ในงานวิจัยและการ
วินิจฉัยโรค
5) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยและวิชาการ ระหว่างนักวิจัยและสถาบันการศึกษา ทั้งใน
ระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านฟีโนมิกส์และชีววิทยาระบบในประเทศ
ไทย
6) เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ในด้านชีววิทยาระบบ (Systems
Biology), ฟีโนมิกส์ทางการแพทย์ (Medical Phenomics), และการศึกษาข้อมูลแบบแผนเมแทบอลิซึม เพื่อ
ยกระดับมาตรฐานการวิจัยของประเทศให้ทัดเทียมระดับสากล
คำสำคัญ
Medical Phenomics