โครงการประชุมรายงานความก้าวหน้า "โครงการการพัฒนาส่วนผสมอาหารส่งเสริมสุขภาพร่างกายและสมองจากพืชโดยโภชนาการแม่นยำจากการศึกษาทางนิวทริฟีโนมิกส์และการวิเคราะห์โดยโปรแกรมจำลองโมเลกุล ในหัวข้อ “Longevity Food for All Ages”
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการประชุมรายงานความก้าวหน้า "โครงการการพัฒนาส่วนผสมอาหารส่งเสริมสุขภาพร่างกายและสมองจากพืชโดยโภชนาการแม่นยำจากการศึกษาทางนิวทริฟีโนมิกส์และการวิเคราะห์โดยโปรแกรมจำลองโมเลกุล ในหัวข้อ “Longevity Food for All Ages” |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รหัสกิจกรรม |
 |
1005-2-000-026-05-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ ห้องประชุม Auditorium อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น |
วันที่จัดการประชุม |
 |
27 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
อาจารย์ เภสัชกร นักวิจัย นักศึกษาเภสัชศาสตร์ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมาก อาหารไม่ได้เป็นเพียงแค่การรับประทานให้อิ่ม แต่ต้องมีนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สุขภาพและส่งเสริมอายุยืนของทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาหารเหล่านี้ต้องอุดมด้วยสารอาหารตามหลักโภชนาการ ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และประกอบด้วยสารสำคัญจากพืชและสัตว์ที่ช่วยบำรุงร่างกาย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติป้องกัน บรรเทา หรือรักษาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนยุคใหม่
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอาหารอนาคตเพื่อเสริมศักยภาพสมองและอายุยืน (Brain-Boosting Future Foods for Longevity) รวมถึงการศึกษานวัตกรรมอาหารสุขภาพสำหรับกลุ่มอาการเมตาบอลิก (Innovation-based Functional Food for Metabolic Syndrome) เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษานวัตกรรมอาหารจากพืชเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ความงาม และสุขภาพที่ดี กระบวนการวิจัยเริ่มจากการค้นหาสารออกฤทธิ์และผลของสารเหล่านี้ผ่าน AI และการจำลองเชิงโมเลกุล (molecular docking) เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พร้อมศึกษาผลกระทบผ่านระบบทางเดินอาหารจำลอง รวมถึงการวิเคราะห์ระดับโอมิกส์ (Omics) เช่น นิวทริฟีโนมิกส์ (Nutriphenomics) นิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) ไมโครไบโอม (Microbiome) และเมตาโบโลมิกส์ (Metabolomics) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ด้านโภชนาการแม่นยำ (Precision Nutrition) โดยครอบคลุมการศึกษาทางพันธุศาสตร์ (Epigenetics, Nutrigenetics, Metabolomics) ในสัตว์ทดลองและมนุษย์ เป้าหมายคือการพัฒนาอาหารเพื่ออายุยืน (Longevity Food) และสร้างเครือข่ายวิจัยอาหารอนาคตร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติอย่างยั่งยืน
ในการนี้ จึงจักได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการเพื่อรวมนักวิจัยที่ทำงานด้านนี้มาประชุมร่วมกัน ในหัวข้อการประชุม “Longevity Food for All Ages” หรือ อาหารเพื่อชีวิตอันยืนยาวสำหรับทุกช่วงวัย อันจะเป็นเพิ่มขีดความสามารถของนักวิจัยและนักวิชาการไทยในการบูรณาการงานวิจัยร่วมกันอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือ มุ่งสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ระหว่างนักวิจัยจากหลากหลายศาสตร์ เพื่อการดำเนินงานด้าน Longevity Food อย่างยั่งยืนทั้งในระยะใกล้ และระยะไกลในอนาคต
2) ดำเนินการเพื่อการสนับสนุนยุทธศาสตร์ "อาหารแห่งอนาคต" (Future Food) และ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) อันเป็นวาระของชาติ
3) เป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนในอนาคต
วิธีสมัครการประชุม
Online