โครงการบริการวิชาการ การประชุม Patient Safety: ADR, R2R, and Pharmacogenetics สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการบริการวิชาการ การประชุม Patient Safety: ADR, R2R, and Pharmacogenetics สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
รหัสกิจกรรม |
 |
1015-2-000-003-03-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
รูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ zoom |
วันที่จัดการประชุม |
 |
25 เม.ย. 2568 - 08 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
1. เภสัชกรประจำโรงพยาบาล ร้านยา และบุคลากรการแพทย์ทั่วไปที่สนใจ จำนวน ๒๐ คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
9 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรด้านสุขภาพที่จำเป็นต้องพัฒนาในเชิงระบบเพื่อให้ผู้ป่วย หรือ ผู้รับบริการทางสาธารณสุขมีความปลอดภัยจากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse events) เนื่องจากส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความสูญเสียจนนำไปสู่ข้อร้องเรียนกับสถานพยาบาลได้ ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยมีอยู่ในระบบสุขภาพทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เชิญชวนให้ประเทศทั่วโลกกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทางสาธารณสุข ผู้ป่วยและประชาชน เห็นความสำคัญและร่วมกันปฏิบัติสู่เป้าหมายดังกล่าว
แนวทางดำเนินให้บรรลุเป้าหมายได้อาศัยความร่วมมือจากทุกสหวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพเภสัชกร ที่มีความเกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยตรงจากการใช้ยา ยานั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ที่มีทั้งประโยชน์และสามารถเกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse drug reaction; ADR) ได้ในเวลาเดียวกัน เภสัชกรมีบทบาทหลักในการประเมินรวมไปถึงการจัดการ ADR รวบรวมรายงาน วางระบบจัดการข้อมูลเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการค้นหาความเสี่ยง ปรับปรุง และพัฒนาระบบป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งนี้การพัฒนาองค์ความรู้ที่มีให้ก้าวเข้าสู่งานวิจัย มีบทบาทและจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนางานของเภสัชกร ความรู้พื้นฐานในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผล นำไปสู่การพัฒนางานคุณภาพและเผยแพร่ผลงาน
นอกจากนี้ในปัจจุบันองค์ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenetics หรือpharmacogenomics) ก็มีความสำคัญต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลเภสัชกรรมเพื่อดูแลด้านความปลอดภัยจากการใช้ยาให้กับผู้ป่วยได้ โดยเภสัชกรถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านนี้ รวมถึงการให้คำแนะนำการส่งตรวจ การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ซึ่งมีความสำคัญทั้งก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์
ในการนี้ เพื่อให้เภสัชกรมีองค์ความรู้สามารถนำไปใช้พัฒนางานประจำได้ ทางคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา จึงจัดอบรมในรูปแบบการประชุมออนไลน์ มีกำหนดการ ดังต่อไปนี้
- วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๘ เรื่อง Patient Safety: Gathering Information to Evaluate ADRs
- วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เรื่อง Patient Safety: Developing R2R from ADR Routines
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เรื่อง Patient Safety: Applying the Basic Concepts of Pharmacogenetics และ Pharmacogenetic counseling to develop future pharmacist roles
ประโยชน์ของการจัดโครงการนี้ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานด้าน ADR และการให้คำปรึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อเป็นการต่อยอดทักษะการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการพัฒนางานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในงาน ADR
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนางานประจำด้าน ADR ให้เป็นงานวิจัย
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานด้านเภสัชพันธุศาสตร์
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานการให้คำปรึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ
คำสำคัญ
ความปลอดภัียของผู้ป่วย เภสัชกรรม ADR