ชื่อการประชุม |
 |
เรื่อง “Allergic Rhinitis: Enhancing Management with Fixed dose Combination” |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
 |
1001-2-000-023-04-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ zoom webinar |
วันที่จัดการประชุม |
 |
24 เม.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรเข้าฟังผ่านการประชุมออนไลน์จํานวน 200 ท่าน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
0 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรชุมชนเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดประชาชน เนื่องจากงานบริบาลเภสัชกรรมที่มีความต้องการเป็นจํานวนเพิ่มมากขึ้น การให้คําแนะนําในร้านยาเน้นไปที่อาการ ภาวะหรือโรคที่พบบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการเบื้องต้นที่อาจนําไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ารับบริการในร้านยาซึ่งมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น ความสะดวกในการเข้ารับบริการ เข้าถึงง่ายประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับ
บริการ เภสัชกรมีบทบาทสําคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจําเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่ผู้ป่วยมักเข้ามาปรึกษาที่ร้านยาก่อนเป็นขั้นแรก กอปรกับปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้น เภสัชกรชุมชนจึงจําเป็นต้องเข้าถึงทั้งแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและข้อมูล
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทันยุคเพื่อสามารถให้คําแนะนําแก่ผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ภูมิแพ้" เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อาการต่างๆ เช่น คัดจมูก จาม นํ้ามูกไหล อาจดูเหมือนเป็นเพียงอาการเล็กน้อย แต่เมื่อเกิดขึ้นเรื้อรัง ก็สามารถส่งผลต่อการทํางาน การเรียน การนอนหลับ และสุขภาพจิตได้อย่างมีนัยสําคัญ การจัดสัมมนาในหัวข้อ
"Allergic Rhinitis: Enhancing Management with Fixed dose Combination" จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงวิธีการจัดการและบรรเทาอาการ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของ
อาการโรค
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการให้คําปรึกษาผู้ที่มีปัญหา
วิธีสมัครการประชุม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา )
E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th
โทร : 02-218-8428