การประชุมวิชาการ เรื่อง “เซซามิน” จากญี่ปุ่น กุญแจปฏิวัติการนอนอย่างเต็มอิ่ม เพื่อเช้าวันใหม่ที่สดชื่น
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการ เรื่อง “เซซามิน” จากญี่ปุ่น กุญแจปฏิวัติการนอนอย่างเต็มอิ่ม เพื่อเช้าวันใหม่ที่สดชื่น |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1013-2-000-002-04-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี |
วันที่จัดการประชุม |
 |
27 เม.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรร้านขายยา เภสัชกรทั่วไป onsite 100 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากประสบปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia) หรือคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด วิถีชีวิตที่เร่งรีบ การใช้เทคโนโลยีก่อนนอน หรือภาวะทางสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ทำให้มีแนวโน้มที่ประชาชนจะมองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement Product) เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ เภสัชกรมีบทบาทสำคัญ เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เภสัชกรจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับสารสำคัญที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับการนอนหลับ เช่น เซซามิน (Sesamin) และเภสัชกรสามารถช่วยให้คำแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองความปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีข้อมูลที่วิทยาศาสตร์รองรับ นอกจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เภสัชกรยังสามารถแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เช่น การออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการนอน และการจัดการความเครียด เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น
เภสัชกรจึงมีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมแนวทางการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้เกี่ยวกับหลักฐานทางคลินิก (Clinical evidence) ของเซซามิน (Sesamin) ในเรื่องช่วยการนอนหลับ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. เพื่อให้เภสัชกรเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมผู้เข้ารับบริการ ผู้ป่วยในร้านขายยา ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม
คำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement Product), เซซามิน (Sesamin), โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)