การประชุมวิชาการการบูรณาการและความก้าวหน้าทางเภสัชศาสตร์“Integrative Knowledge and Advance in Pharmacy” ในโอกาสวันครบรอบ 13 ปี การสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 72 ปี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เภสัชกรณรงค์ สาริสุต
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการการบูรณาการและความก้าวหน้าทางเภสัชศาสตร์“Integrative Knowledge and Advance in Pharmacy” ในโอกาสวันครบรอบ 13 ปี การสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 72 ปี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เภสัชกรณรงค์ สาริสุต |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1017-2-000-012-04-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ห้องประชุมนานาชาติ 500 ที่นั่ง ชั้น 2 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
วันที่จัดการประชุม |
 |
22 เม.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ บุคลากรวิชาชีพสุขภาพ เภสัชกรและบุคคลทั่วไป รวม 450 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
5.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ของรัฐ ก่อตั้งในปี พ.ศ.2556 ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีจำนวน 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร และระดับ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 1 หลักสูตรสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี มีการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต แบ่งเป็น 2 สายวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Pharmaceutical Science) และสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care)
การจัดการเรียนการสอนมุ่งหมายให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์วิชาชีพในลักษณะบูรณาการ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และด้านผู้ป่วยแบบผสมผสานและเติมเต็มซึ่งกันและกัน ตามเกณฑ์สมรรถนะวิชาชีพของสภาเภสัชกรรม นอกจากการเรียนภาคทฤษฎีแล้วนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4-6 มีการฝึกปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดทักษะและ ประสบการณ์วิชาชีพในแหล่งฝึกปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยาโรงงานผลิตยาสถาบันวิจัยและพัฒนา
ในการนี้ คณะเภสัชศาสตร์จึงได้จัดประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นการถ่ายทอดแลก เปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในหมู่คณาจารย์ นักวิจัย เภสัชกรในแหล่งฝึกปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะและแหล่งฝึก นอกจากนี้การประชุมวิชาการดังกล่าวยังเป็นเวทีวิชาการสำหรับนักวิจัย เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรมและวิทยาการด้านเภสัชศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมบริการวิชาการ แบบให้เปล่าของคณะ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพ อาจารย์ นักศึกษา ผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์
1)เพื่อเป็นกิจกรรมบริการวิชาการให้แก่เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพและบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยเภสัชกรที่เข้าร่วมจะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง (CPE) ตามเกณฑ์ของสภาเภสัชกรรม
2)เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีภายในกลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะวิชาทางสุขศาสตร์) แหล่งฝึกที่คณะเภสัชศาสตร์ มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภาคเอกชน เช่น บริษัทยา และเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งในต่างประเทศ
3)เพื่อให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้รับความรู้ ประสบการณ์การจัดงาน และประสบการณ์วิชาชีพ
คำสำคัญ
Integrative Knowledge and Advance in Pharmacy