ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
(online) Reach HIGH STANDARDS on the analysis of Residual Solvent
ชื่อการประชุม (online) Reach HIGH STANDARDS on the analysis of Residual Solvent
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-004-04-2568
สถานที่จัดการประชุม ZOOM Application
วันที่จัดการประชุม 25 เม.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ใน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายควบคุมคุณภาพ หรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระบวนการผลิตภัณฑ์ยา อาจมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงมีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษน้อยในระหว่างการผลิตยา นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ตกค้างเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการควบคุมคุณภาพยา การเลือกวิธีการวิเคราะห์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างให้เหมาะสม ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
ปัจจุบันการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างตามแนวทาง ICH Q3C ( R8 ) ( International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use )แบ่งตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างตามระดับความเป็นพิษ 4 ระดับ คือ Class 1: solvents to be avoid Class 2: solvents to be limited , Class 3 :solvents with low toxic potential และ solvents for which no adequate toxicological data was found โดยในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง Class 1-3 สามารถใช้การวิเคราะห์ GC-FID ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีคอลัมน์ GC ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงคอลัมน์เดียวที่สามารถแยกสารอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมดออกจากกันได้ ด้วยเหตุนี้ วิธีการวิเคราะห์ที่ระบุไว้ใน USP และ EP จึงอธิบายถึงการใช้คอลัมน์ GC หลายรูปแบบที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ผู้วิเคราะห์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของวิธีการและวัสดุอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสมถูกต้องตามข้อกำหนด
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้วิธีการการวิเคราะห์และหาปริมาณตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างในกระบวนการผลิตภัณฑ์ยา
• เพื่อทำความเข้าใจถึง ข้อดี และข้อจำกัด ของวิธีการต่างๆที่ใช้วิเคราะห์และหาปริมาณ ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง
• เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้วัสดุอ้างอิงเป็นมาตรฐานภายในและวัสดุอ้างอิงสำหรับการสอบเทียบในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง
คำสำคัญ
Residual Solvent
วิธีสมัครการประชุม
วิทยากร : 1) M. James Ross, Ph.D. Global Francine Manager, Millipore Sigma, United state of America 2) Wattanapong Sittisaree, Ph.D. Solution Scientist, Merck Life science, Thailand and Indochina