ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ.2568 |
สถาบันหลัก |
 |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
0001-2-000-016-06-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง |
วันที่จัดการประชุม |
 |
05 -06 มิ.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทย |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
10 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) เป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญระดับโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สัดส่วนประชากรส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุและสถิติการเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลักเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และมลภาวะต่าง ๆ ปัจจุบันการดูแลและรักษาโรค NCDs อาศัยการใช้ยาแผนปัจจุบันเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากผลข้างเคียงของยาบางชนิดและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง รวมทั้งปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์สนใจศึกษาและค้นคว้าข้อมูลการใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกมากขึ้น โดยมีหลักฐานข้อมูลวิจัยจำนวนหนึ่งสนับสนุนศักยภาพสมุนไพรในการป้องกันและบรรเทาอาการของโรค NCDs ได้
สมุนไพรหลายชนิดมีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ การควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับสภาวะของโรคหรือความเจ็บป่วย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบยาเตรียม ระบบนำส่งยา รวมถึงการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์และกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยข้างต้นล้วนส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีบทบาทด้านบูรณาการกับยาแผนปัจจุบันเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น
วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรจัดประชุมวิชาการวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประทศไทย ครั้งที่ ๓ ในหัวข้อ "สมุนไพร : ทางเลือกใหม่ในการป้องกันและดูแลโรค NCDs อย่างยั่งยืน" จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมุ่งเน้นการนำเสนอองค์ความรู้ที่ทันสมัยและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย และผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. นำเสนอความก้าวหน้าทางวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรค NCDs
2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำสมุนไพรไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
3. กระตุ้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านสมุนไพรเข้ากับการดูแลสุขภาพและแนวทางการรักษาแบบบูรณาการ
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเภสัชกร นักวิจัย นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ
วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรฯ
วิธีสมัครการประชุม
สามารติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 591 9992 กด 7 วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรฯ