ชื่อการประชุม |
 |
การใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1004-2-000-009-03-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ห้องประชุม Webex สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง |
วันที่จัดการประชุม |
 |
20 มี.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านยา และผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความของการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use) ไว้ว่า “Patients receive medications appropriate to their clinical needs, in doses that meet their own individual requirements, for an adequate period of time, and at the lowest cost to them and their community.” ซึ่งสามารถแปลเป็นภาษาไทยว่า “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล คือ การใช้ยาที่ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับความต้องการทางคลินิก ในขนาดยาที่เหมาะสมกับสภาวะการทำงานของร่างกายของผู้ป่วย โดยใช้เป็นระยะเวลาที่เพียงพอและเหมาะสม อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายต่อตัวผู้ป่วยและชุมชนน้อยที่สุด”
องค์ประกอบสำคัญของการใช้ยาอย่างสมเหตุผลประกอบด้วยหลายปัจจัย โดยเริ่มจากความเหมาะสมทางคลินิก (Clinical Appropriateness) ซึ่งหมายถึง การเลือกใช้ยาที่ตรงกับการวินิจฉัยโรคและความจำเป็นทางการแพทย์ โดยต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนและพิจารณาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเป็นหลัก ถัดมาคือความเหมาะสมของขนาดยา (Appropriate Dosage) ที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้ป่วยแต่ละราย โดยขนาดยาต้องเหมาะสม ปรับเปลี่ยนตามปัจจัยเฉพาะของผู้ป่วย การตอบสนองต่อยา นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม (Appropriate Duration) โดยให้ยานานพอที่จะรักษาโรคให้หายขาด ไม่ใช้ยาเกินความจำเป็น และมีการติดตามประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Cost-effectiveness) หมายถึงการเลือกใช้ยาที่มีราคาสมเหตุสมผล คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วย รวมถึงผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุขโดยรวม ดังนั้นการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เกิดการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้ป่วยและระบบสาธารณสุข ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมและยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยสูงสุด
สำหรับประเทศไทยการใช้ยาไม่สมเหตุผลเกิดขึ้นทั้งในสถานพยาบาลและในระดับชุมชน นับเป็นปัญหาระดับชาติมานานหลายทศวรรษ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้กําหนดให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ 15 ส่งผลให้โรงพยาบาลในสังกัดดําเนินการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ตามแผนงานในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานพัฒนาความเป็นเลิศด้านยาและเวชภัณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค :
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้ดำเนินนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาล (RDU Hospital) และในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจนประสบผลสำเร็จในหลายด้าน แต่การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) ในร้านขายยายังไม่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ โดยในปี 2567 ผลการประเมินตามมาตรฐานเภสัชกรรมชุมชน (GPP) หมวด 5 จำนวน 78 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมิน GPP ครั้งที่ 1 คะแนนประเมินมากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 75 แห่ง เหลือจำนวน 3 แห่งต้องมีการประเมินซ้ำเพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน
ปัจจุบันจังหวัดพัทลุงมีร้านขายยาแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง จำนวน 100 แห่ง หากสามารถส่งเสริมมาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในร้านขายยาแผนปัจจุบันของจังหวัดพัทลุง จะส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการรับบริการในร้านยา ตามแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ใช้ยาอย่างคุ้มค่า ลดภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้บรรลุผลตามแผนยุทธศาสตรการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในร้านขายยา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมความรู้การใช้ยาสมเหตุผลในร้านยาจังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาความรู้ของเภสัชกรและบุคลากรในร้านยาเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างร้านยาในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
3.เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากร้านยา
คำสำคัญ
RDU ร้านขายยา เภสัชกร