ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Steroid Smart Use and Management of Asthmatic Attacks in Pharmacy”
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Steroid Smart Use and Management of Asthmatic Attacks in Pharmacy”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-019-03-2568
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมใหญ่ อาคารบิ๊กซีเฮ้าส์
วันที่จัดการประชุม 19 มี.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจจํานวน 100-150 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรมีบทบาทสําคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบท ของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจําเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใช้ต่อเนื่องระยะยาว และมีการใช้ยาในรูปแบบเฉพาะ ซับซ้อนกว่ายารูปแบบรับประทานโดยทั่วไป เภสัชกรจึงควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลด้านยาของผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดลมไวหรือโรคหืดอย่างใกล้ชิด มีการจัดการข้อมูลที ่จะทําให้การวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น สามารถรับมือผู้ป่วยที่มีอาการจับหืดเฉียบพลัน ก็เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ดังนั้นความรู้ที่ครบถ้วนแม่นยําทั้งการรักษา การเลือกใช้ยา วิธีการใช้ยาและอุปกรณ์(Device) ถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อการให้คําปรึกษาในร้านขายยาของเภสัชกร การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงส่งผลการรักษาโรคหืดที่ยั่งยืนของผู้ป่วย การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรเรื่องโรคหืดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
รวมถึงเภสัชกรมีความจําเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคผิวหนังที่ต้องทําการรักษาด้วยยาทาสเตียรอยด์เช่น Atopic Dermatitis, Psoriasis, Allergic contact Dermatitis,Seborrheic Dermatitis เป็นต้น ซึ่งยาทาสเตียรอยด์มีลักษณะการใช้ยาที่ค่อนข้างมีข้อควรระวัง และควรมีการใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ได้ทั้งประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมทั้งความปลอดภัย ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง เภสัชกรจึงควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลด้านยาใกล้ชิด มีการแนะนําการใช้ยาสเตียรอยด์อย่างสมเหตุสมผล รวมถึงสามารถให้คําปรึกษาผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ผิวติดสเตียรอยด์(Steroid Addiction) หรือแม้แต่ในทางกลับกัน การทําความเข้าใจกับผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยมีภาวะกลัวการใช้ยาสเตียรอยด์(Steroid Phobia) ก็เป็นเรื่องสําคัญต่อการให้คําปรึกษาในร้านขายยาของเภสัชกรเช่นกัน การพัฒนาบทบาทของเภสัชกร เรื่องยาทาสเตียรอยด์จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมี
1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุอาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของโรคหืด และโรคผิวหนังที่จําเป็นต้องใช้ยาทาสเตียรอยด์
2. ความเข้าใจบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการรักษาโรคหืด โดยเฉพาะการรับมืออาการจับหืดเฉียบพลัน การให้คําแนะนําในการดูแลตนเอง และการควบคุมอาการให้คงที่อย่างต่อเนื่อง
3. ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการเลือกและการใช้ยายาทาสเตียรอยด์อย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงสามารถให้คําปรึกษาผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาทาสเตียรอยด์ผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงจากยาทาสเตียรอยด์ผิวติดสเตียรอยด์(Steroid Addiction) และการทําความเข้าใจกับผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยมีภาวะกลัวการใช้ยาสเตียรอยด์(Steroid Phobia) รวมถึงการให้คําแนะนําในการใช้ยาและการหยุดยาอย่างถูกต้อง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา ) E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th โทร : 02-218-8428