ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย : การดูแลภาวะวิกฤติแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ (Critical holistic care in elderly)
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย : การดูแลภาวะวิกฤติแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ (Critical holistic care in elderly)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-018-06-2568
สถานที่จัดการประชุม ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Webex
วันที่จัดการประชุม 05 -06 มิ.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น จำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะสูงวัยจึงมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ภาวะสูงวัยเป็น
กระบวนการตามธรรมชาติของร่างกายที่เสื่อมถอยลงทั้งในแง่ของโครงสร้างและการทำงาน ส่งผลให้การ
ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะที่เปราะบาง ก่อให้เกิดความผิดปกติ และนำไปสู่การเกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้ง่าย
กว่าวัยหนุ่มสาว จากข้อมูลของกองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566 พบว่า โรคไม่ติดต่อ
(Non-Communicable Diseases; NCDs) 5 อันดับแรกที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะก่อให้เกิด
ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะติดเตียง ความพิการ และถึงแก่ชีวิต
เป็นต้น โดยโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อในผู้สูงอายุ
2 อันดับแรก
โดยโรคที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นเมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤติจะมีการแสดงอาการจำเพาะของแต่ละโรคที่บ่งถึง
ภาวะวิกฤติของร่างกาย ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญและอาจส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ เช่น ภาวะ
หมดสติไม่รู้สึกตัว หายใจเร็วหอบเหนื่อย ซึมลง เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคของผู้ป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและอันตรายจากการใช้ยาอย่าง
ไม่ถูกวิธีซึ่งนำไปสู่ภาวะวิกฤติในผู้สูงอายุได้ การมีความรู้ความเข้าใจถึงสัญญาณอันตรายต่าง ๆ ของภาวะ
วิกฤติทำให้เกิดการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ลดความรุนแรงของอาการ และเพิ่มโอกาสรอดชีวิต
ของผู้ป่วยได้
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นสมควรเปิดการประชุมวิชาการ
ในหัวข้อ “รู้ทันการสูงวัย : การดูแลภาวะวิกฤติแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ (Critical holistic care in elderly)”
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทั้งสาเหตุ อาการแสดง การเฝ้าระวัง และแนวทาง
การปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะวิกฤติดังกล่าว เพื่อสร้างความตระหนักถึงสัญญาณเตือนของโรคที่ต้องเข้ารับการรักษา
อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะนำไปสู่ภาวะที่รุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องภายหลัง
จากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้นจากภาวะวิกฤติแล้ว เพื่อให้ร่างกายและจิตใจกลับสู่สภาวะปกติ ทั้งในเรื่อง
ของการรักษาด้วยยา การรับประทานอาหาร การทำกายภาพบำบัด และการฟื้นฟูจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุ
ได้กลับมาใช้ชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ความรู้ในการสังเกตอาการ
ของผู้ป่วย คนใกล้ชิด รวมทั้งการส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยหลังภาวะวิกฤติ และสามารถ
ประยุกต์องค์ความรู้เพื่อใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุขได้
วัตถุประสงค์
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในผู้สูงอายุและแนวทางการ
จัดการเบื้องต้น
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพทั้งในด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยหลังภาวะ
วิกฤติ
3.สามารถนำความรู้ที่ได้จาการประชุมไปปฏิบัติและเผยแพร่ได้
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและการลงทะเบียน บุคคลทั่วไป ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 คนละ 800.- บาท ค่าลงทะเบียนหากชำระหลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 คนละ 1,000.- บาท ลงทะเบียนและชำระเงินได้ภายในวันที่ 3 มิถุนายน 2568 ศิษย์เก่า ค่าลงทะเบียน คนละ 800.- บาท ลงทะเบียนและชำระเงินได้ภายในวันที่ 3 มิถุนายน 2568 โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง https://pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-462266-0 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการภาควิชาสรีรวิทยา พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระ ค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งลิงก์เข้าร่วมงานประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมทางอีเมลที่ลงทะเบียน ไว้ 1 – 3 วัน ก่อนวันงานประชุม ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน จากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่กค 0409.6/ว95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน ติดต่อเพิ่มเติม -หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทร. 088-982-9049 E-mail : mupy.conference.regis@gmail.com -ภาควิชาเคมี โทร. 0-26448695 e-mail : headpypc@mahidol.ac.th -หน่วยการศึกษาหลังปริญญาและการศึกษาต่อเนื่อง (CPE) โทร. 065-806-9388 e-mail : pycpe@mahidol.ac.th