ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
Community Pharmacists’ Role in Dry Eye Management in the Age of PM2.5 บทบาทของเภสัชกรร้านยาในการดูแลรักษาโรคตาแห้งในยุควิกฤต PM2.5
ชื่อการประชุม Community Pharmacists’ Role in Dry Eye Management in the Age of PM2.5 บทบาทของเภสัชกรร้านยาในการดูแลรักษาโรคตาแห้งในยุควิกฤต PM2.5
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-006-03-2568
สถานที่จัดการประชุม อาคารเบอรร์ลี่ ยุคเกอร์ 99
วันที่จัดการประชุม 19 มี.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิก เภสัชกรและบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
โรคตาแห้งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในทุกช่วงอายุของประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีความชุกของโรค
ตาแห้งที่เพิ่มขึ้นตามอายุของประชากร คือ ประมาณร้อยละ 8 ในผู้มีอายุเฉลี่ย 18 ปี1 ถึง ประมาณร้อยละ 60 ในผู้มีอายุเฉลี่ย 50 ปี2 อาการของโรคตา เช่น อาการแสบตา ระคายเคือง รู้สึกไม่สบายตา น้ำตาไหล ตาพร่ามัว แม้ว่าอาการดังกล่าวจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและลดคุณภาพชีวิต อีกทั้งก่อให้เกิดภาระด้านค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้1-3
มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ particulate matter ขนาดไม่เกิน 2.5 microns (PM2.5) ซึ่งกำลังเป็นปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยและทั่วโลก ณ ขณะนี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทั่วร่างกายรวมถึงดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการสัมผัสกับมลพิษในอากาศโดยตรงซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก การสัมผัสกับ PM2.5 ก่อให้เกิดการอักเสบ การแพ้ และความผิดปกติอื่น ๆ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเกี่ยวกับตาต่าง ๆ รวมถึงโรคตาแห้ง4 นำมาซึ่งอาการและภาระจากโรคดังที่กล่าวมาข้างต้น
เภสัชกรร้านยาเป็นผู้ที่มีบทบาทใกล้ชิดในการดูแลผู้ป่วยโรคตาแห้ง ดังนั้น เพื่อการจัดการดูแลรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เภสัชกรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกันโรค รวมถึงสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอาการและเศรษฐานะของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เพื่อยกระดับความรู้และทักษะของเภสัชกรในการดูแลรักษาปัญหาโรคตาแห้ง
2.เพื่อสร้างความตระหนักแก่เภสัชกรในผลกระทบของ PM2.5 ที่มีต่อดวงตา
3.เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถให้คำแนะนำด้านการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำตาเทียมแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับอาการและเศรษฐานะ
คำสำคัญ