ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาศักยภาพเภสัชกร เครือข่ายโรงเรียน อย.น้อย จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2568
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพเภสัชกร เครือข่ายโรงเรียน อย.น้อย จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2568
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-023-02-2568
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมรีเจ้นท์ บอลรูม โรงแรมเดอะรีเจ้นท์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 20 ก.พ. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกร เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงการดำเนินงานกับชุมชน เพื่อสนับสนุนการสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และปลูกฝังให้นักเรียน อย.น้อย มีความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเหล่านั้น เจริญเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ต่อไป การดำเนินงาน อย.น้อย ในโรงเรียนเป็นกระบวนการตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีนักเรียน แกนน้ำอย.น้อยในโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและในชุมชนใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โครงการอบรมวิชาการพัฒนาศักยภาพเภสัชกร เครือข่ายโรงเรียน อย.น้อย จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี๒๕๖๘ ประกอบด้วยเครือข่ายการดำเนินงาน อย.น้อย คือ เภสัชกร ครูแกนน้ำ อย.น้อย นักเรียนแกนน้ำ อย.น้อย บุคลากรด้านการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียน อย.น้อย แนะวิธีนับคาร์บ อ่านฉลากโภชนาการ ห่างไกลโรค NCDs เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่มีสุขภาพแข็งแรง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย "ยกระดับการสาธารณสุขไทย สุขภาพแข็งแรงทุกวัย เศรษฐกิจสุขภาพไทยมั่นคง" โดยมุ่งเน้นให้คนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ และสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน เป้าประสงค์หลัก คือ การยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค และการสนับสนุนนโยบายลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้รับผิดชอบงาน อย.น้อย จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ห่างไกลจากโรค NCDs
2. เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย และต่อยอดสู่เกณฑ์มาตรฐาน อย.น้อย พลัส สร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดดเด่น (Best practice) ของจังหวัด อุบลราชธานีต่อไป
3. เพื่อให้เภสัชกรเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน อย.น้อย ตลอดจนปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่มีสุขภาพแข็งแรง
คำสำคัญ
อย.น้อย