ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-002-02-2568
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมคณะเภสัชศาสตร์ ชั้น 11 อาคาร 10 ปี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง จ.ชลบุรี
วันที่จัดการประชุม 23 ก.พ. 2568
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรจังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคทางเดินอาหาร โดยเฉพาะภาวะ Dyspepsia (อาหารไม่ย่อย) และ อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น ไม่สบายท้อง แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ไขมันพอกตับ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่น ๆ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากความเสื่อมของร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ และการทำงานในชีวิตประจำวัน การจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในระดับร้านขายยาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร้านขายยาเป็นจุดให้บริการสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ในการเลือกใช้ยาสำหรับ Dyspepsia และเป็นการผสมผสานความรู้ทางเภสัชวิทยา พยาธิสรีรวิทยา รวมไปถึงการรักษาด้วยสมุนไพรไทย เข้ากับทักษะการให้บริการผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนั้นแล้วการประเมินอาการผิดปกติเพื่อหาสาเหตุของผู้ป่วยที่มารับบริการในร้านยา และแนวทางในการบรรเทาอาการให้แก่ผู้มาใช้บริการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ร้านขายยาจึงมีบทบาทสำคัญในการให้บริการสุขภาพขั้นต้น โดยผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะของการสื่อสารและการให้บริการและการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างครบถ้วนและเหมาสมกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ กลไกการเกิดโรค อาการของ Dyspepsia เสริมสร้างสมรรถนะและทักษะในการจัดการโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารที่พบได้ในร้านยา และกลไกการออกฤทธิ์ วิธีใช้ ข้อแนะนำและข้อควรระวัง เกี่ยวกับยาสมุนไพรบรรเทาอาการปวด
2. เพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการซักประวัตผู้ป่วย และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม และสามารถเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับบรรเทาอาการปวดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการร้านยา และผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยามีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อให้เภสัชกรสามารถแนำนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดูแลเบื้องต้น การใช้ยา และการให้คำแนะนำที่เหมาะสม
5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพในร้านยา และสร้างความตะหนักถึงสัญญาณอันตรายที่สำคัญของโรคที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ