ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการในโครงการบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องเชื่้อมต่อระหว่างร้านยาและโรงพยาบาล ในหัวข้อ “In- House Academics : Basic Pharmacogenomics & Clinical Application”
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการในโครงการบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องเชื่้อมต่อระหว่างร้านยาและโรงพยาบาล ในหัวข้อ “In- House Academics : Basic Pharmacogenomics & Clinical Application”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-006-01-2568
สถานที่จัดการประชุม จัดประชุม Onsite ณ ห้องอินทนิล ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และ Online:Zoom
วันที่จัดการประชุม 24 ก.พ. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในร้านยาในพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยนเรศวรและเครือข่ายเภสัชกรที่ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านยาและสุขภาพแก่ประชาชน โดยเน้นมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเครื่อข่ายสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งยังเป็นแหล่งฝึกงานวิชาชีพด้านเภสัชกรรมชุมชนสำหรับนิสิตเภสัชศาสตร์ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานจริง
ปัจจุบัน การพัฒนางานบริการเภสัชกรรมในร้านยาชุมชนมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเภสัชพันธุศาสตร์ (Phaพmacogenomics)ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมของบุคคลกับการตอบสนองต่อยา แนวคิดนี้ช่วยให้การรักษาทางเภสัชกรรมสามารถปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ลดอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา(Adverse Drug Reaction,ADRs)และเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้ให้บริการรูปปบบใหม่ เช่น การให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Stong NCDs)และบริการ Teleharmacy เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชน นกอจากนี้ในสพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ยังมีการบูรณาการทำงานระหว่างร้านยากับคลินิกหมอครอบครัวของโรงพยาบาลพุทธชินราช เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยเรื่้อรัง ทำให้เภสัชกรชุมชนต้องมีองค์ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการใช้ยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุผลนี้ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดโครงการ In-Acadermic Pharmaconomics & Clnical Application เพื่อให้เภสัชกรชุมชนละบุคลากรทางเภสัชศาสตร์ได้มีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ทางคลิกนิ ตลอดจนสามารถนำความาู้ไปพัฒนางารบริการเภสัชกรรมในร้้านยาให่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยยแปลงของระบบสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติหนัาที่พึ่งพิงของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างความแตกตต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่เภสัชกรชุมชนในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์
1.สร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ (Phaพmacogenomics)และเชื่อมโยงการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์กับการปฎิบัติจริง
2.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวในการดูแลผู้บริการร้านยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรโรงพยาบาล ร้านยาในพื้นที่ใกล้เคียง ม.นเรศวร
คำสำคัญ
เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัขพนธุศาสตร์ เภสัชกรชุมชน ร้านยา บริการร้านยา ตรวจยีนแพ้ยา
วิธีสมัครการประชุม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ชวนชม ธนานิธิศักดิ์ เบอร์โทรศัพท์ 0 5596 1830