ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
การอบรม Easy epilepsy pharmacist รุ่นที่ 3
ชื่อการประชุม การอบรม Easy epilepsy pharmacist รุ่นที่ 3
สถาบันหลัก กรมการแพทย์
รหัสกิจกรรม 3004-2-000-005-05-2568
สถานที่จัดการประชุม สถาบันประสาทวิทยา
วันที่จัดการประชุม 23 พ.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม กรมการแพทย์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก มีอุบัติการณ์ประมาณ 20-50 ต่อประชากรแสนคน โดยประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วย จะอยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี หรืออยู่ในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น มีผู้ป่วยโรคลมชักมากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก และทุกๆ ปีมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้น 2.4 ล้านคน ผู้ป่วยโรคลมชักมีการเสียชีวิตก่อนอายุขัยมากกว่าคนทั่วไป 2-6 เท่า โดยผู้ป่วยโรคลมชักมักจะถูกรังเกียจ เลือกปฏิบัติ ถูกแยกจากสังคม และเป็นปมด้อย เนื่องจากความเข้าใจที่ผิดว่าเป็นโรคติดต่อหรือโดนผีสิง ทั้งนี้ โรคลมชักมีความชุก 10 คนต่อประชากรพันคนโดยรวมทั่วโลก และยังพบอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับจากปี พ.ศ. 2552 จากข้อมูล การสำรวจโดยสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย พบว่า ปี พ.ศ. 2555 ความชุกของโรคลมชักในประเทศไทยมี 25 คนต่อประชากรพันคน
จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ในวันที่ 12 ธันวาคม 2557 พบว่า โรคลมชักเป็นหนึ่งในโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทอย่างรุนแรงได้บ่อยมากที่สุด
ที่มีผลต่อทุกกลุ่มอายุ และโรคลมชักยังเป็นภาระของโลกที่ต้องการความร่วมมือระดับประเทศ เพื่อรับมือกับผลกระทบต่อสุขภาพ สังคมและความรู้ในระดับสาธารณะ และหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม พบว่า มากกว่าร้อยละ 75 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจะสามารถมีชีวิตเช่นคนปกติปราศจากอาการชักได้ อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคลมชักทั่วโลกที่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องหรือเพียงพอ ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงการรักษาที่เรียกว่า Treatment gap ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน อาทิ บุคลากร ไม่เพียงพอ การเข้าถึงยาไม่เหมาะสม สังคมเพิกเฉย ความเข้าใจในโรคผิด ลำดับความสำคัญไว้ต่ำเกินไปสำหรับการรักษาโรคลมชัก เป็นต้น
จากข้อมูลของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ พ.ศ.2555 พบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทย ร้อยละ 57 ยังมีปัญหาในการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคลมชักที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากจำนวนแพทย์ที่รักษาโรคลมชักไม่เพียงพอ การกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม จำนวนยากันชักพื้นฐานมีไม่ครบทุกแห่ง และเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยร้อยละ 75 กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ จึงจำเป็นต้องลด Treatment gap ในการรักษาโรคลมชักในระดับนโยบาย คือ 1) โรคลมชักเข้าถึงเป็นนโยบายระดับชาติ (National policy) และ 2) พัฒนาการดูแลเรื่องโรคลมชัก เพื่อลดช่องว่างในการรักษา ดังแผนภูมิที่ 1
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลมชักอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. เพื่อพัฒนาระบบการเข้าถึงการรักษารวมถึงระบบการให้บริการและส่งต่อผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทย
3. เพื่อสร้างเครือข่ายสถานพยาบาลด้านโรคลมชักที่มีคุณภาพและสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
โรคลมชัก เภสัชกร
วิธีสมัครการประชุม
เว็บไซต์สถาบันประสาทวทิยา https://nit.go.th/