ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการ ก้าวทันเครื่องสำอาง 5: The Innovation in Skincare Science |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
 |
1002-2-000-015-05-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
22 -23 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การวิจัย-พัฒนา ประเมินและควบคุมคุณภาพของเครื่องสำอาง |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
10.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางถือเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีศักยภาพในการแข่งขันเชิงพาณิชย์สูง โดยข้อมูลจากอินฟอร์มา มาร์เก็ต ประเทศไทย ระบุว่า ตลาดความงามโลกในช่วงปี ค.ศ. 2023 – 2027 จะมีมูลค่ารวมถึง 427 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตที่อัตรา 6% ต่อปี ขณะที่ตลาดความงามในประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 258,275 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้น 11.6% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสกินแคร์ (41.78%) ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ได้ประเมินว่าในปี 2568 มูลค่าตลาดเครื่องสำอางในไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 12.9% โดยแบ่งเป็นตลาดในประเทศ 79% และตลาดส่งออกอีก 21% โดยคาดว่ามูลค่าตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทย จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 13.3% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
แม้ว่าตลาดเครื่องสำอางจะมีศักยภาพสูง แต่ก็เผชิญกับความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้สามารถเริ่มต้นหรือยุติได้ง่าย จึงมีมีผู้ประกอบการใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านราคา ช่องทางจัดจำหน่าย และรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (fast beauty) ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง หากผลิตภัณฑ์ไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ก็อาจล้าสมัย ขายไม่ออก
จากแนวโน้มดังกล่าว ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผู้สูงอายุ ที่เน้นสุขภาพและความงามที่เหมาะสมกับวัย ผลิตภัณฑ์ชะล้างที่มีเนื้อสัมผัสและคุณสมบัติใหม่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่จำเพาะต่อผู้บริโภค (personalized skincare) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องติดตามข้อกำหนดด้านกฎหมายใหม่ ๆ เช่น กฎระเบียบเดี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ สาขาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดงานประชุมนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศ สำหรับการแข่งขันในระดับสากล เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นระหว่างผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส่วนราชการ นักวิจัย และผู้สนใจอื่น ๆ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังเน้นการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและสามารถสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทย
วัตถุประสงค์
1.ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับสารชะล้าง นวัตกรรม และการพัฒนาสูตรตำรับที่ใช้ในเครื่องสำอางในปัจจุบัน
2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดและกฎระเบียบด้านการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด
3.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับเทรนด์เครื่องสำอางสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ รวมถึงกลไกการออกฤทธิ์ และบทบาทของสารสำคัญ เช่น เปปไทด์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในอนาคต
4.ผู้ร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่จำเพาะเจาะจงต่อบุคคล (personalized skincare)
5.ผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิชาการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืน
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียน บรรยาย บุคคลทั่วไป (ภายใน 21 เมษายน 2568)
•ท่านละ 5,000 บาท ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม (รูปเล่มพิมพ์ขาว-ดำ) อาหารกลางวัน และอาหารว่าง
สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-459192-4 ชื่อบัญชี ก้าวทันเครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan และ แนบไฟล์หลักฐานการโอนเงิน
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0409.6/ว95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
-สาขาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0-2644-8694 E-mail: mupycosmetics@gmail.com
-หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทร. 088-982-9049 E-mail : mupy.conference.regis@gmail.com
-หน่วยการศึกษาหลังปริญญาและการศึกษาต่อเนื่อง(CPE) E-mail: pycpe@mahidol.ac.th โทร 065-806-9388