ชื่อการประชุม |
 |
โครงการการบริหารและการจัดการสุขภาพสำหรับเภสัชกรชุมชน |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
รหัสกิจกรรม |
 |
1006-2-000-019-03-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
 |
17 มี.ค. 2568 - 25 มิ.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรและผู้สนใจ จำนวน 65 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
41.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การบริการทางเภสัชกรรมชุมชนเป็นการดูแลสุขภาพในระบบสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ร้านยาเป็นสถานพยาบาลในระดับปฐมภูมิ (Primary care) ที่มีความสำคัญต่อประชาชน เนื่องจากการกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ มากกว่าหน่วยงานของรัฐ เป็นสถานบริการทางสาธารณสุขอันดับแรกที่ประชาชนนึกถึงเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ปัจจุบันเภสัชกรที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมประจำในร้านยามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้การประกอบวิชาชีพในร้านยามีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบทบาทรูปแบบไปจากเดิมที่มีเพียงการจ่ายยา (Dispensing) มีการนำองค์ความรู้ทางด้านเภสัชกรรมคลินิก (Clinical pharmacy) และการบริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care) มาประกอบในการปฏิบัติงานในร้านยา ช่วยให้เภสัชกรชุมชนขยายบทบาทในการดูแลผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการใช้ยาของชุมชน
บทบาทของเภสัชกรในการจัดการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในชุมชน ซึ่งถือเป็นด่านแรกที่เข้าถึงประชาชนและผู้รับบริการ รวมถึงการประสานงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อส่งเสริม รักษาสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน การจัดการสุขภาพของผู้รับบริการในชุมชนและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาด้านการแพทย์ บริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การบริการทางเภสัชกรรมในชุมชนจึงต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรชุมชนจะต้องเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริการในระบบยาและระบบสุขภาพ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันหลักของวิทยาลัยเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรมจึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารและการจัดการสุขภาพสำหรับเภสัชกรชุมชน” ซึ่งเป็นการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางเภสัชกรรมชุมชน “เภสัชกรรมชุมชนขั้นสูง” เพื่อผลิตเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขา “เภสัชกรรมชุมชน” ซึ่งจะเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและศักยภาพของเภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทักษะด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาระบบ แนวทางการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน การสร้างนวัตกรรมการบริการด้านเภสัชกรรมชุมชนและการพัฒนาการจัดการเชิงธุรกิจของเภสัชกรชุมชนภายใต้จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ร่วมกับสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารและการจัดการสุขภาพสำหรับเภสัชกรชุมชน” นี้ ทางคณะทำงานได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องดังกล่าวสำหรับผู้ที่มีความสนใจและเภสัชกรที่มีความประสงค์ในการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางเภสัชกรรมชุมชน “เภสัชกรรมชุมชนขั้นสูง” โดยกำหนดการดำเนินโครงการในรูปแบบการประชุมวิชาการ ภาคบรรยาย 1 ช่วง (ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2568) ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้แนวคิดและความสำคัญของหลักการบริหารจัดการเภสัชกรรมชุมชนพื้นฐาน บทบาทร้านยาในระบบสุขภาพ การออกแบบธุรกิจร้านยา การบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการสุขภาพผู้ป่วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ การทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ กฎหมายและจรรณยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรรมชุมชน และภาคปฏิบัติการ 2 ช่วง ปฏิบัติการ (ครั้งที่ 1) ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2568 มุ่งเน้นความรู้และทักษะการจัดการสุขภาพทางเภสัชกรรมชุมชน โดยเฉพาะเครื่องมือสำหรับการจัดการสุขภาพทางเภสัชกรรมชุมชน IESAC, SOAP, MTM, RDU ปฏิบัติการ (ครั้งที่ 2) ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2568 มุ่งเน้นความรู้และทักษะงานเภสัชกรรมชุมชนด้านการจัดการและธุรกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจหลักการบริหารและการจัดการสุขภาพสำหรับเภสัชกรชุมชน
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการงานเภสัชกรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการสุขภาพของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีสมัครการประชุม
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ 08-9918-3921 คุณกัลยา อรวิเชียร