งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2567 “ Real Practice in Asthma and COPD: Improving to Specialized Pharmacist”
ชื่อการประชุม |
|
งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2567 “ Real Practice in Asthma and COPD: Improving to Specialized Pharmacist” |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2003-2-000-003-02-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ ห้องประชุมดอนเมือง 1โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพ |
วันที่จัดการประชุม |
|
13 -14 ก.พ. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
7.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาสำคัญของไทย ได้แก่ โรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยโรคหืด เป็นปัญหาทางสาธารณสุขหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหืดทั่วโลก 262 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรจำนวนมากกว่า 455,000 คน ส่งผลให้โรคหืดเป็นโรคที่สังคมควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พบผู้ป่วยในประเทศไทยเสียชีวิตด้วยโรคหืดวันละประมาณ 8-9 คน คิดเป็นอัตรา 3.42 ต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย และอัตราตายของประชากรทั่วโลกเช่นกัน จากสถิติองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 210 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของประชากรผู้ใหญ่ คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของประชากรโลก คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 4.8 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น 1.3 เท่าในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 40 คนต่อประชากรแสนคน
ในปี พ.ศ. 2568 นี้ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) โดยกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย จึงจัดให้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “Real Practice in Asthma and COPD: Improving to Specialized Pharmacist” ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรที่สนใจในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้เรียนรู้แนวทางการรักษา ได้ทราบบทบาทของเภสัชกรในการร่วมทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย ในแต่ละมิติของการทำงาน เช่น เภสัชกรปฐมภูมิ เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป และสามารถนำงานประจำมาพัฒนาเป็นงานวิจัยได้ ทั้งนี้การเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริงผ่านฐานการเรียนรู้การพ่นยาชนิดต่างๆ และการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยจาก case study
วัตถุประสงค์
1.ได้รับทราบแนวทางการรักษาโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จมูกอักเสบภูมิแพ้ เพื่อนำไปดูแลผู้ป่วยได้
2.ได้เรียนรู้วิธีการให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง จมูกอักเสบภูมิแพ้ ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติโดยการเรียนจากกรณีศึกษาจริง
3.ได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ยาพ่นชนิดต่างๆ และฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถสอนผู้ป่วยได้
4.ได้เรียนรู้การนำงานประจำในฐานะเภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วย มาพัฒนาเป็นงานวิจัย เพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพได้
5.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการดำเนินงานในคลินิก การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย การเก็บตัวชี้วัดที่สำคัญต่างๆ เพื่อประเมินผลการดูแลผู้ป่วย
คำสำคัญ
Asthma and COPD, โรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนที่ลิงค์นี้ https://register.thaihp.org/extend.php?option=seminar_tpacform&seminar=225