งานประชุมวิชาการ The 10th NCARO Infectious Disease Pharmacists 2025: Pharmacists' role in infectious disease stewardship services, research and practices
ชื่อการประชุม |
|
งานประชุมวิชาการ The 10th NCARO Infectious Disease Pharmacists 2025: Pharmacists' role in infectious disease stewardship services, research and practices |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2003-2-000-002-02-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ ห้องซากุระ โรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ |
วันที่จัดการประชุม |
|
05 -07 ก.พ. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
16.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในประเทศไทยเป็นปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วน ซึ่งเกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพในระดับสูงทั้งในภาคมนุษย์และสัตว์ การศึกษาล่าสุดเน้นย้ำถึงปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระบบที่มีส่วนทำให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ รวมถึงความพยายามในการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มุ่งแก้ไขปัญหานี้ ส่วนถัดไปนี้จะสรุปผลการวิจัยที่สำคัญ ประเทศไทยมีอัตราการใช้สารต้านจุลชีพสูง โดยมีผลกระทบอย่างมากต่อการดื้อยาต้านจุลชีพ มียาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ถูกแจกจ่ายโดยไม่มีการติดป้ายกำกับที่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและการใช้ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและความเป็นผู้นำในท้องถิ่นในการลดความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะ ในขณะที่ผลการศึกษาได้เน้นย้ำถึงความรุนแรงของ AMR ในประเทศไทย การพิจารณาศักยภาพในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขผ่านการศึกษาเพิ่มเติม การปฏิรูปนโยบาย และการมีส่วนร่วมของชุมชนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การจัดการกับ AMR ต้องใช้แนวทางที่หลากหลายซึ่งรวมถึงมุมมองด้านสุขภาพของทั้งมนุษย์และสัตว์
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) โดยกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) จะจัดให้มีงานประชุมวิชาการประจำปี 2568 สำหรับเภสัชกรที่มีความสนใจหรือปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ The 10th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2025: Pharmacists' role in infectious disease stewardship services, research and practices ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เปิดเวทีให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานทางด้านนี้ ถือเป็นการส่งเสริมบทบาทของเภสัชกรและเปิดมุมมองการปฏิบัติงานควบคู่กับการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานทางด้านโรคติดเชื้อต่อไป อีกทั้งยังมุ่งหวังที่จะสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านเภสัชบำบัดของเภสัชกร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความรู้ในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case-based learning)
3. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเภสัชกรในการประยุกต์การใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมในโรงพยาบาลสอดคล้องกับมาตราฐานโรงพยาบาล (Antimicrobial Stewardship Program; ASP)
คำสำคัญ
NCARO, Infectious Disease Pharmacists, Antimicrobial
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนที่ลิงค์นี้ https://register.thaihp.org/extend.php?option=seminar_ncaroform&seminar=224