ชื่อการประชุม |
|
Advancement in Obesity Management to Switch-off NCDs by 2030 |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2002-2-000-001-02-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท - กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
20 -21 ก.พ. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
8.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ใน ปี พ.ศ. 2566 พบประชากรไทยกว่า 400,000 คน เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เเิดความสูญเสียทางเศรษกิจ มากถึง 1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ในปัจจุบัน การรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความก้าวหน้าไปมาก สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน การรักษาโรค และการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสู่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน โดยมุ่งเน้นถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และนำไปใช้ได้จริง ซึ่งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของชาติในแผนระดับที่ 1 และระดับที่ 2 กล่าวคือ ในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยสนันสนุนให้ประชากรไทยมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างศักยภาพ โดยการจัดประชุมวิชาการประจำปี และการจัดประชุมวิชาการออนไลน์ ต่อเนื่องตลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 มีการร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานทางการแพทย์หลายระดับ หลายสาขา ทั้งอาจารย์แพทย์จากคณะแพทย์ต่าง ๆ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลส่วนภูมิภาคที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายกับทางสมาคม เป็นการส่งต่อประสบการณ์ เปิดมิติมุมมองใหม่ ๆ แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2568 นี้จะเป็นการประชุมวิชาการประจำปีสำหรับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ในหัวข้อ “Advancement in Obesity Management to Switch-off NCDs by 2030” ซึ่งจะครอบคลุมวิทยาการการรักษาที่ก้าวหน้า และ เทคโนโลยีที่นำสมัย การใช้ social network การใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ application ในการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ทั้งการดูแลเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย ยา และการผ่าตัด รวมทั้งนำเสนอแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันโรคอ้วนและไม่ติดต่อเรื้อรังในเวชปฏิบัติโดยสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งหวังจะเผยแพร่ความรู้ที่ทันสมัยสู่บุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอทิศทางด้านนโยบายของชาติเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะเชื่อมโยงกับนโยบายของ สสส.และกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อการบูรณาการการจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประเทศไทยอย่างยั่งยืนสืบไป
วัตถุประสงค์
1.นำความรู้ในการป้องกันโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไปบูรณาการกับเวชปฏิบัติ
2.ให้ความรู้ผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
3.ทราบแนวทางการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยยา การผ่าตัด พฤติกรรมบำบัด และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและจำเพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ
แนวการการรักษาโรคเรื้อรัง แนวทางการรักษาโรคอ้วน การออกกำลังกาย อาหาร เทคโนโลยี AI และ แนวปฏิบัติ
วิธีสมัครการประชุม
สมัครสมาชิกออนไลน์ ได้ที่ www.cpat.or.th
สมัครเข้าประชุม https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSerH_6wfQFmNtFI3_S1-EkSKr5EEJyiaDbkE5n3YHM9u8fsuw/viewform