การประชุมวิชาการ Series for Pharmacist focus on Mental Health EP.1: Stress management for Pharmacist
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการ Series for Pharmacist focus on Mental Health EP.1: Stress management for Pharmacist |
สถาบันหลัก |
|
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
0001-2-000-075-12-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ประชุมผ่านระบบออนไลน์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
04 ธ.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันการให้บริการทางเภสัชกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้มีการเข้าร่วมบริการต่าง ๆ ในระบบประกันสุขภาพ ทั้งในส่วนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กรมบัญชีกลาง อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะให้กับประชาชนในการเข้าถึงระบบการดูแลด้านสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ทั้งในงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อีกทั้ง การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบันมีการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล สำหรับประชาชนที่มีข้อจำกัดในการเดินทางมารับบริการด้านเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการเภสัชกรรมอย่างทั่วถึง และเป็นการส่งเสริมการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สามารถบริการแก่ประชาชน ดังนั้น ศูนย์พัฒนาการบริการวิชาชีพเภสัชกรรมจึงมีบทบาทหน้าที่หนึ่งคือ การพัฒนาศักยภาพเภสัชกร โดยจัดประชุมทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมมาตรฐานบริการทางวิชาชีพเภสัชกรรม
ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางจิตเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลและการสนับสนุนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในด้านการใช้ยาและการจัดการด้านสุขภาพจิต เภสัชกรซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับยา มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและครอบครัว การให้คำแนะนำที่เหมาะสมจากเภสัชกรสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังเสริมสร้างความมั่นใจในการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการให้คำปรึกษาในกลุ่มเภสัชกรจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางจิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจของเภสัชกรในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางจิตอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการรักษาและการใช้ยา
3.เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรสามารถทำงานร่วมกับทีมการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีความครอบคลุมและมีผลลัพธ์ที่ดี
4.เพื่อเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรในการเป็นที่ปรึกษาทางสุขภาพจิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ไว้วางใจในองค์กรทางการแพทย์หรือร้านยา
คำสำคัญ
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ
วิธีสมัครการประชุม
สามารติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 591 9992 กด 4 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ หรือติดต่อ รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม โทร 0816617237 ไลน์ไอดี @sunee.l