ชื่อการประชุม |
|
เรื่อง The up-to-date treatments for an aging population |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-002-01-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
รูปแบบการประชุมออนไลน์ ผ่านทางโปรแกรม zoom webinar |
วันที่จัดการประชุม |
|
25 ม.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงของวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของชีวเภสัชภัณฑ์ (Biologics) การรักษาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) การบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาท (Antineuropathic Pain) การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ และการรักษาใหม่ในกลุ่มยาต้านมะเร็ง (Anti-cancer drugs) การพัฒนาวิธีการรักษาและยาที่เกี่ยวข้องกับสาขาเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งยังช่วยในการป้องกันและรักษาโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ป่วยมะเร็ง ในบริบทของสังคมไทยที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมการรักษาและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมที่สกัดจากพืชสมุนไพรไทย ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น มีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย และยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย
การประชุมวิชาการในหัวข้อ “Up-to-Date Treatments: Biologics, Elderly Medications and Cancer Drugs” จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์จากเภสัชกร นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจในองค์ความรู้และวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากชีวเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยและอาหารเสริมอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในหลักการทั่วไปของการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาใหม่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนายาในระยะก่อนคลินิก ในระยะคลินิก หรือที่มีการนำมาใช้แล้ว
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประเมินคุณค่าของยาใหม่ มีข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในการเลือกใช้ยาสำหรับตนเองหรือคนใกล้ชิด
เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและพัฒนายาต่อไปในอนาคต
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283
e-mail: ce@pharm.chula.ac.th