โครงการประชุมวิชาการกลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) “Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) annual meeting” ครั้งที่ 3
ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการกลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) “Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) annual meeting” ครั้งที่ 3 |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รหัสกิจกรรม |
|
1005-2-000-013-01-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ โรงแรมพูลแมน จี กรุงเทพ (Pullman Bangkok Hotel G) สีลม กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
15 -17 ม.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกร |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
16.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของประเทศไทย และเป็นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็งมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการผ่าตัด รังสีรักษา และการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ได้นำการรักษาแบบมุ่งเป้า (targeted therapy) และการใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเภสัชกร ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) หรือ Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) group ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของสมาคมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) หรือ Asia Pacific Oncology Pharmacy Association (Thailand) เพื่อเชื่อมประสานเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิด ก้อน (solid cancer) ได้อย่างใกล้ชิดมายิ่งขึ้น จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของเภสัชกร ในการดูแลผู้ป่วย สนับสนุนการทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเป็นเครือข่ายในการ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเภสัชกรสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อให้เกิดมาตรฐานตาม หลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือในระดับเดียวกันครอบคลุมเครือข่ายทั้งประเทศและยกระดับบทบาทวิชาชีพเภสัชกรโดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งให้เป็นที่ยอมรับในสหสาขาวิชาชีพและในระดับชาติต่อไป
สืบเนื่องจากการก่อตั้งกลุ่มเภสัชกรดูแผู้ลป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) หรือ Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) group ที่ได้รับการรับรองและอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) หรือ Asia Pacific Oncology Pharmacy Association (Thailand) ได้ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 อีกทั้งยังได้จัดโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติประจำปี สำหรับกลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) “Fundamental workshop of oncology pharmacy practitioners” ครั้งที่ 1 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25-27 มกราคม พ.ศ.2566 ณ M academy กรุงเทพมหานคร และโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติประจำปี สำหรับกลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) “Expanding Horizons in Comprehensive Cancer Care: Advanced Insights for Clinical Oncology Pharmacy Practitioners” ครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 17-19 มกราคม พ.ศ.2567 ณ โรงแรมพูลแมน จี กรุงเทพ (Pullman Bangkok Hotel G) สีลม กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการตอบรับและได้รับการประเมินความพึงพอใจของการจัดการประชุมในระดับดีมากอีกทั้งได้รับข้อเสนอแนะให้ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนตามเป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มเภสัชกรดูแผู้ลป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) ในการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการในการปฎิบัติงาน และสร้างพื้นที่สำหรับพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ระหว่างกัน มุ่งหวังให้เกิดเป็นมาตรฐานในการปฎิบัติงานที่ดีตามหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือระดับเดียวกันครอบคลุมเครือข่ายทั้งประเทศ และเพื่อยกระดับบทบาทวิชาชีพเภสัชกรโดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งให้เป็นที่ยอมรับในสหสาขาวิชาชีพและระดับชาติต่อไป เพื่อให้เป็นการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งทางกลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ประเทศไทย) หรือ Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) group จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการประจำปี “Thai Medical Oncology Pharmacists (TMOP) annual meeting” ครั้งที่ 3 โรงแรมพูลแมน จี กรุงเทพ (Pullman Bangkok Hotel G) สีลม กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15-17 มกราคม พ.ศ.2568 เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้พื้นฐานด้านการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อนอย่างครอบคลุมสำหรับเภสัชกรที่กำลังเริ่มเข้าสู่การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจสำหรับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานประจำ สนับสนุนให้มีความพร้อมที่จะดำเนินงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งชนิดก้อน (solid cancer) ได้ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัย
2) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมทางด้านโรคมะเร็ง
3) เพื่อสร้างเครือข่ายของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศให้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และส่งเสริมคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง
วิธีสมัครการประชุม
Online