ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “New option for dry eyes” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-057-10-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อกและประชุมออนไลน์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
27 ต.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการประชุมไปใช้ในการปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับทั้งมลภาวะและแนวทางการดำเนินชีวิตยุคใหม่ที่มีการพึ่งพิงอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคมากขึ้น รวมถึงประชากรส่วนใหญ่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ อาการหรือภาวะตาแห้ง ระคายเคืองตาเล็กน้อย ในปัจจุบันมีความสำคัญและพบปัญหามากขึ้น ซึ่งโรคตาแห้งเป็นโรค ที่มีอาการและอาการแสดงหลายอย่างไม่ใช่เพียง คันเคืองตา แสบตา เท่านั้น แต่ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สำคัญซึ่งเภสัชกรเองสามารถใช้ในการประเมินได้ อาทิเช่น เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา น้ำตาไหล ตาสู้แสงไม่ได้ เป็นต้น กอปรกับปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผลิตสารทดแทนน้ำตาที่ความหลากหลายการเลือกใช้น้ำตาเทียมที่เหมาะสมจึงเป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในร้านยาหรือชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรมีความรู้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าถึงข้อมูลยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรคตาแห้งซึ่งพบเป็นปัญหาบ่อย เภสัชกรควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลปัญหาของผู้ป่วย สามารถแนะนำการจัดการข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น สามารถรับมือและวิเคราะห์ การเลือกใช้ยา ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการให้คำปรึกษาในร้านขายยาของเภสัชกร การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงส่งผลการรักษาที่ยั่งยืนของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของอาการโรคตาแห้ง
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการให้คำปรึกษาผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง
วิธีสมัครการประชุม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา )
E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th
โทร : 02-218-8428
1) เภสัชกรที่สนใจเข้าฟังในห้องประชุมจำนวน 50-100 ท่าน
2) เภสัชกรเข้าฟังผ่านการประชุมออนไลน์จำนวน 150-300 ท่าน