ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ "การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นสูงทุกช่วงวัย: 2nd Rajavithi Advanced Cardiac Care in a life time (RJACC 2024)”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ "การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นสูงทุกช่วงวัย: 2nd Rajavithi Advanced Cardiac Care in a life time (RJACC 2024)”
สถาบันหลัก กรมการแพทย์
รหัสกิจกรรม 3004-2-000-006-11-2567
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมปาริชาติ ชั้น 11 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลราชวิถี
วันที่จัดการประชุม 13 พ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม กรมการแพทย์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจหลอดเลือดและโรคทรวงอก จัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น
อย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและ
ครอบครัว ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่
“Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยสาระสำคัญประการหนึ่ง คือ เน้น
การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริการ และกลุ่มงานด้าน
สาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยี ดังนั้น การพัฒนาการรักษาโรคหัวใจหลอดเลือดจึงมีความจำเป็น ถึงแม้ว่า
องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดการรวบรวม
อย่างเป็นระบบเพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้และขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างอย่าง
แท้จริง นอกจากนี้ เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพ เทคโนโลยีทางการแพทย์และรูปแบบ
การดูแลรักษาใหม่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการรักษา
อย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เป็นศูนย์กลางการจัดประชุมวิชาการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในระดับชาติและนานาชาติมายาวนาน มีส่วนร่วมระดมความคิดในการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนด้านสาธารณสุข
ในประเทศและภูมิภาคอาเซียนร่วมกัน เพื่อสร้างระบบเครือข่ายพันธมิตรในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ทั้งในและต่างประเทศร่วมกัน ซึ่งมีความสำคัญและประโยชน์หลายด้าน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนา
บุคลากรของกรมการแพทย์ภายในองค์กรให้ได้รับประสบการณ์มากขึ้นจากการเรียนรู้ระหว่างกันเกี่ยวกับ
การบริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจของประเทศต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดวิชาการ
ทางการแพทย์สาขาโรคหัวใจและหลอดเลือดและสร้างความยั่งยืนด้านสาธารณสุขในระดับสากล เพื่อเป็น
การพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้มีความเข้มแข็งและทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงของโลก

โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็ก
แห่งชาติมหาราชินี กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล กลุ่มงานเภสัชกรรม กลุ่มภารกิจสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
กลุ่มภารกิจสาขารังสีเทคนิค กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี และ
คณะกายภาพบำบัด วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ได้ตระหนักถึงปัญหาด้านการสาธารณสุขระดับชาติ โดยเฉพาะในกลุ่ม
โรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้สหวิชาชีพในการบริการให้ความช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย
โรคหัวใจทุกช่วงวัยตามหลักมาตรฐานสากล รวมทั้งเกิดเครือข่ายสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจของประเทศไทย
สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนเข้าถึง
บริการ ลดการส่งต่อ เพิ่มผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ลดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ตาม
นโยบายกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านโรคหัวใจและ
หลอดเลือดที่ทันต่อยุคสมัย สามารถนำไปบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบริการการแพทย์เชิงรุก มีระบบ
สาธารณสุขที่ได้มาตรฐานที่ประชากรทุกระดับเข้าถึงได้ดีขึ้น เพื่อสร้างคุณค่าที่ก่อประโยชน์ให้กับประชาชน และ
เขตสุขภาพในระดับประเทศ
คำสำคัญ
RJACC, การประชุมวิชาการ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรงพยาบาลราชวิถี
วิธีสมัครการประชุม
- ลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.pmdrj.com/coecardiorj - ค่าลงทะเบียน 500 บาท สำหรับบุคลากรภายนอกโรงพยาบาลราชวิถี - ลงทะเบียนฟรี สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลราชวิถ