ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 18 เมษายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry”
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-054-11-2567
สถานที่จัดการประชุม งานประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar
วันที่จัดการประชุม 28 พ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวและแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของคณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาชีพเภสัชศาสตร์ กรรมการบริหารคณะได้เสนอให้มีการจัดงานวิชาการศึกษาต่อเนื่อง โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาควิชาและทุกภาคส่วนในคณะ ซึ่งกำหนดจะจัดงานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรมจึงเสนอโครงการ เรื่องDriving sustainability in the pharmaceutical industry เพื่อลงทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในการเฉลิมฉลองครั้งนี้
sustainability หรือความยั่งยืน กลับมาเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างมากทั้งในแง่สาเหตุของความไม่ยั่งยืนรวมไปถึงวิธีทางแก้ไขเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตของระบบต่างๆรอบตัวเรา ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นต่างก็มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งรอบตัวทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างปฏิเสธไม่ได้นำไปสู่การเสียสมดุลของธรรมชาติและผลกระทบเชิงลบต่อมนุษยชาติ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายประเภทให้ความใส่ใจและตื่นตัวกับความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เช่น ฟาร์มปศุสัตว์มีแนวคิดที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่เป็นสาเหตุหลักของการทำลายชั้นโอโซนของโลกนำไปสู่ภาวะโลกร้อนหรืออุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ ที่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่างก็ใช้กลยุทธและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับลด carbon load นอกจากนี้ในเชิงนโยบายระดับประเทศสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับจนนำไปสู่การกำหนดกำแพงภาษีการค้าของสินค้าหรือบริการที่ไม่มีความมยั่งยืนอีกด้วย
อุตสาหกรรมการผลิตยาและสารเคมีจัดเป็นกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตัวทำละลายอินทรีย์ สารตั้งต้น catalyst waste รวมไปถึงกระบวนการการผลิตและของเสียจากกระบวนการและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว นอกจากนี้พลังงานเชื้อเพลิงที่จำเป็นต่อการใช้เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือทางการผลิตก็ส่งผลกระทบเช่นกัน การชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงต่าง ๆ ของการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการ การออกแบบกระบวนการในระหว่างกระบวนการผลิตไปจนถึงการส่งมอบเภสัชภัณฑ์รวมถึงจุดวิกฤตในกระบวนการที่เป็นต้นเหตุของผลกระทบเชิงลบสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมได้
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้มองเห็นภาพความเชื่อมโยงของกิจกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตยาที่มีผลต่อความยั่งยืน ตระหนักและเข้าใจรวมถึงพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการผลิตยาในอนาคตที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืน
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โทรศัพท์ 0-2218-8283 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: ce@pharm.chula.ac.th