เรื่อง “One Airway One Disease: Allergic Rhinitis & Asthma Management รักษาภูมิแพ้จมูกดี หอบหืดก็ดีด้วย”
ชื่อการประชุม |
|
เรื่อง “One Airway One Disease: Allergic Rhinitis & Asthma Management รักษาภูมิแพ้จมูกดี หอบหืดก็ดีด้วย” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-051-09-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ประชุมออนไลน์ ผ่าน application Zoom |
วันที่จัดการประชุม |
|
27 ก.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคหืดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดย องค์การอนามัยโลก(World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วโลก 262 ล้านราย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 455,000 ราย ในประเทศไทยพบความชุกผู้ป่วยในผู้ใหญ่
ประมาณมากกว่า 4 ล้านราย ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ จากสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคร่วมของโรคหืดเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ข้อมูลจาก worldlifeexpectancy.com และพบผู้ป่วย ในประเทศไทยเสียชีวิตด้วยโรคหืดวันละประมาณ 8-9 ราย คิดเป็น 3,142 รายต่อปี หรือคิดเป็นอัตรา 3.42 ต่อ
ประชากร 1 แสนคน โดยผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหืดจะมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยเด็กถึง 5 เท่า เภสัชกรมี บทบาทสําคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของ สถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจําเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการ รักษาโรค โดยเฉพาะโรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใช้ต่อเนื่องระยะยาว และมีการใช้ ยาในรูปแบบเฉพาะ ซับซ้อนกว่ายารูปแบบรับประทานโดยทั่วไป เภสัชกรจึงควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลด้านยา ของผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดลมไวหรือโรคหืดอย่างใกล้ชิด มีการจัดการข้อมูลที่จะทําให้การวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดี และเร็วยิ่งขึ้น สามารถรับมือผู้ป่วยที่มีอาการจับหืดเฉียบพลัน ก็เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่อาจถึงแก่
ชีวิตได้ ดังนั้นความรู้ที่ครบถ้วนแม่นยําทั้งการรักษา การเลือกใช้ยา วิธีการใช้ยาและอุปกรณ์ (Device) ถือเป็น
ปัจจัยสําคัญต่อการให้คําปรึกษาในร้านขายยาของเภสัชกร การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงส่งผลการรักษาโรค
หืดที่ยั่งยืนของผู้ป่วย การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรเรื่องโรคหืดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของโรคหืด
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคหืดทั้งยาบรรเทาอาการและควบคุมอาการ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการรักษาโรคหืด
โดยเฉพาะการรับมืออาการจับหืดเฉียบพลัน การให้คําแนะนําในการดูแลตนเอง และการควบคุมอาการให้
คงที่อย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ
ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนําความรู้ที่ได้รับจากการประชุมไปใช้ในการปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม