ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
เรื่อง “Jigsaws for the best care”
ชื่อการประชุม เรื่อง “Jigsaws for the best care”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-050-10-2567
สถานที่จัดการประชุม ประชุมออนไลน์ ผ่าน application Zoom
วันที่จัดการประชุม 06 ต.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร ที่สนใจจำนวน 200-400 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรชุมชนเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดประชาชน เนื่องจากงานบริบาลเภสัชกรรมที่มีความต้องการเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น การให้คำแนะนำในร้านยาเน้นไปที่อาการ ภาวะหรือโรคที่พบบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ารับบริการในร้านยาซึ่งมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น ความสะดวกในการเข้ารับบริการ เข้าถึงง่ายประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่ผู้ป่วยมักเข้ามาปรึกษาที่ร้านยาก่อนเป็นขั้นแรก กอปรกับปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้น เภสัชกรชุมชนจึงจำเป็นต้องเข้าถึงทั้งแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทันยุคเพื่อสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม
เนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) ร่วมกับหน่วนการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมศักยภาพของเภสัชกรให้สามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโรคหรืออาการที่พบบ่อย จึงจัดโครงการประชุมวิชาการโดยมุ่งเน้นองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทั้งการเลือกใช้ยาแก้แพ้ซึ่งเป็นยาที่ใช้บ่อย การรักษาอาการเจ็บคอและการดูแลแผลโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรมีสมรรถนะและทักษะที่ดีในการให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาของโรคที่พบบ่อยในร้านยา
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับยารักษาของโรคภูมิแพ้ การรักษาอาการเจ็บคอและการดูแลแผลโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th