ประชุมวิชาการครบรอบ 44 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ Future Health wellness : the Pillars of Sustainable Health system "สุขภาพที่แข็งแรง คือมิติหลักของระบบสุขภาพที่ยั่งยืน"
ชื่อการประชุม |
|
ประชุมวิชาการครบรอบ 44 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ Future Health wellness : the Pillars of Sustainable Health system "สุขภาพที่แข็งแรง คือมิติหลักของระบบสุขภาพที่ยั่งยืน" |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
|
1003-2-000-034-09-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงพยาบาลนครพิงค์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
25 -26 ก.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
บุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์ จำนวน 800 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
11 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ในยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดูแลสุขภาพไม่ใช่เพียงการรักษาโรค แต่เป็นการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของการดูแลตนเอง การมีสุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาชีวิตของประชาชนและสังคมโดยรวม การมีสุขภาพที่แข็งแรงช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุมวิชาการเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์จากสหสาขาวิชาชีพได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการและแนวปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและบุคลากรเอง โครงการประชุมวิชาการครบรอบ 44 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ Future Health Wellness: the Pillars of Sustainable Health System สุขภาพที่แข็งแรง คือ มิติหลักของระบบสุขภาพที่ยั่งยืน จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพที่ดีในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเจ้าใจ และแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร เพื่อร่วมกันสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพต่อไป การจัดโครงการงานประชุมวิชาการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพงานประจำให้ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อกระตุ้นกระบวนการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลนครพิงค์
3. เพื่อให้โรงพยาบาลเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ
การพัฒนาคุณภาพงานประจำ, ระบบสุขภาพ, การพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล