ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมและเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “Dancing with Bacteria”
ชื่อการประชุม การประชุมและเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “Dancing with Bacteria”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-2-000-009-08-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้อง ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
และผ่านระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ Zoom conference และ Facebook Live ของ สถาบันวิจัยสังคม และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
วันที่จัดการประชุม 30 ส.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป ประมาณ 30 คน (ตามจดหมายเชิญ) และทาง online 300 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR) ในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 38,000 ราย และสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจสูงถึงกว่าปีละ 40,000 ล้านบาท (คณะทำงานประสานและติดตามการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570, 2567) สถานการณ์ระดับนานาชาติมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2593 คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตถึง 10 ล้านคนต่อปี ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง (O’Neill, 2016; World Bank Group, 2017) สำหรับโครงการประชุมและเสวนาวิชาการนี้ จะใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และยาต้านจุลชีพ ในความหมายที่ทดแทนกัน (ตามศัพท์นิยามที่เกี่ยวข้อง)

การพบการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การใช้ในการเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกพืช การตกค้างมากับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หรือ อาหาร และส่งต่อมายังมนุษย์ ส่งผลให้เกิดการดื้อยาปฎิขีวนะ หรือยาต้านจุลชีพ ซึ่งการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านแบคทีเรียจำเป็นต้องใช้การบูรณาการในทุกๆ ด้าน และต้องใช้เวลาอันยาวนาน โดยมีแนวคิดว่า หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา คือ การทำความเข้าใจในประชาชนเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น หรือการสร้างความรอบรู้ให้กับประชาชน (นนธวัช สวัสดิ์ล้น, 2563; Centers for Disease Control and Prevention [CDC], 2024; Fleming, 1945) รวมทั้ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของบุคลากร หน่วยงาน หรือองค์กรที่สนใจด้านยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านจุลชีพ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย และเท่าทันต่อสถานการณ์
ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.) ร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และหน่วยงาน หรือองค์กรทางด้านวิชาชีพเภสัชกรรมต่างๆ จัดประชุม และเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “Dancing with Bacteria” เพื่อเผยแพร่ และสร้างความตระหนักรู้ให้ทราบเกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อและเชื้อดื้อยาทั้งภายในประเทศและนานาชาติ รวมทั้ง ระดมความคิดเห็นและอภิปราย บทบาท กิจกรรม และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องยาฆ่าเชื้อและเชื้อดื้อยาในพื้นที่ต่างๆ ทุกภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อพัฒนานโยบายระดับชาติ ร่วมกันหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และอนาคตของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ และสร้างความตระหนักรู้ให้ทราบเกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อและเชื้อดื้อยาทั้งภายในประเทศและนานาชาติ
2. เพื่อระดมความคิดเห็นและอภิปราย บทบาท กิจกรรม และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องยาฆ่าเชื้อและเชื้อดื้อยาในพื้นที่ต่างๆ ทุกภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อพัฒนานโยบายระดับชาติ
คำสำคัญ