Rabies Scientific Conference 2024 “Strengthening Engagement to Support the Zero by 30”
ชื่อการประชุม |
|
Rabies Scientific Conference 2024 “Strengthening Engagement to Support the Zero by 30” |
สถาบันหลัก |
|
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย |
รหัสกิจกรรม |
|
5003-2-000-001-09-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
12 -13 ก.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
แพทย์ เภสัชกร พยาบาล สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
8.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์จรจัดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ และบางส่วนเป็นสัตว์เลี้ยงซึ่งมีความใกล้ชิดกับมนุษย์แต่ขาดการดูแลเอาใจใส่ในการให้วัคซีน และที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ องค์การอนามัยโลกได้รายงานมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าทั่วโลกมากกว่า 55,000 รายต่อปี ในประเทศไทยถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน (น้อยกว่า 10 รายต่อปี จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข) แต่พบว่ามีอัตราผู้ถูกสุนัขกัดและสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศมากกว่า 400,000 รายต่อปี สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้พบว่าบุคคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงไปจากเดิม ทำให้การรักษาผู้ถูกสัตว์กัดและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายหลังสัมผัสโรคยังเป็นปัญหาที่พบบ่อยของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเวชปฏิบัติทั่วไป
ดังนั้น สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นสถาบันที่มีพันธกิจหลักเกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คือ การให้บริการทางคลินิก การวินิจฉัย การผลิตอิมมูโนโกลบุลิน การวิจัยพัฒนา การเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดและสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จึงได้จัดประชุมวิชาการระดับชาติเกี่ยวกับการดูแลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายตามองค์การอนามัยโลกที่พยายามรณรงค์ขจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดในปี คศ.2030
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เรื่องการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลรักษาผู้ถูกสัตว์กัดและสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า รวมทั้งแนวทางการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อช่วยพัฒนาการให้วัคซีน อิมมูโนโกลบุลิน และการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า
คำสำคัญ
โรคพิษสุุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า การดูแลรักษาผู้ถูกสัตว์กัดและสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า
วิธีสมัครการประชุม
1.ลงทะเบียนผ่าน QR code
2.https://webcast.live14.com/saovabha
3.กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนในแผ่นพับพร้อมแนบหลักฐานการโอนเงินมาที่
E-mail: qsmimeeting@gmail.com