การประชุมวิชาการ
(Online)Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice
ชื่อการประชุม (Online)Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-046-09-2567
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 01 ก.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิก เภสัชกรและบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในบริบทของสถานพยาบาลและร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน หนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่พบได้บ่อยขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะ peripheral neuropathy ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่สามารถรักษาและป้องกันได้ โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจสาเหตุของการเกิดภาวะ peripheral neuropathy และการใช้วิตามินบี เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว อีกหนึ่งกลุ่มโรคที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ได้แก่ โรคไข้หวัด อาการไข้และคัดจมูก ที่ต้องได้รับการการรักษา และบรรเทาอาการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เภสัชกรจึงความจำเป็นต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรค และแนวทางการรักษา รวมถึงการรู้จักผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคดังกล่าว สามารถให้คำแนะนำในการใช้ยา และการดูแลสุขภาพองค์รวมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ Empowering Pharmacist led Intervention in Real Practice ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ (1) โรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ peripheral neuropathy (2) แนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ จากโรคเบาหวาน (3) บทบาทของวิตามินบี ต่อการรักษาอาการปลายประสาทอักเสบ (4) การดูแลรักษาโรคหวัดในระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง (5) การเลือกใช้ยารักษาตามอาการ ของกลุ่มอาการไข้หวด (6) การดูแลรักษาอาการคัดจมูก และบทบาทของผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ (7) บทบาทของเภสัชกรในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และโรคไข้หวัด
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจโรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ peripheral neuropathy
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ และบทบาทของ วิตามินบี
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคหวัดในระยะเริ่มต้น จนถึงระยะรุนแรง และการเลือกใช้ยารักษาตามอาการ
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถประยุกต์ใช้คความรู้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และให้คำแนะนำในการดูแลรักษาอาการคัดจมูก
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th