ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต รุ่นที่ 1 (Certificate Short Course Training Program in Pharmaceutical Care in Nephrology)
ชื่อการประชุม โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต รุ่นที่ 1 (Certificate Short Course Training Program in Pharmaceutical Care in Nephrology)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-043-10-2567
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
วันที่จัดการประชุม 01 -31 ต.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการใช้ยาเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้ยา รวมถึงมีค่าใช้จ่ายด้านยาสูง เภสัชกรจึงมีบทบาทเข้าไปมีส่วนร่วมในการเพิ่มความปลอดภัย และความร่วมมือในการใช้ยา เพื่อเป้าหมายชะลอการเสื่อมของไต ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิต หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมของเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต มีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทั้งในลักษณะการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโดยตรงและการพัฒนาศักยภาพของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรจะมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอาจารย์ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพ
เภสัชกรที่ผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การพัฒนาและขยายเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตให้มีประสิทธิภาพได้ต่อไป
หลักสูตรนี้เน้นถึงการทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม การฝึกปฏิบัติวิชาชีพจะเน้นการใช้ evidence based practice ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มีองค์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดเชิงลึกในการบริบาลทางเภสัชกรรม มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผนติดตาม ประเมินผลป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา ส่งเสริม สนับสนุนและให้ข้อมูลการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัย สามารถสื่อสารและประสานงานกับบุคลากรทางสาธารณสุขสาขาอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม
หลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรมระยะสั้นสาขาโรคไตจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ภายใต้การรับรองของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม เพื่อที่จะพัฒนาทักษะของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านโรคไตในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานพยาบาลอื่น ๆ ให้สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้การดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วยโรคไตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาด้วยยาที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การเรียนการสอนในหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจากอาจารย์และเภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชบำบัดในโรคไต ในภาคปฏิบัติมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานทั้งการดูแลผู้ป่วยโรคไตทั้งแบบผู้ป่วยนอกและ ผู้ป่วยใน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกับอาจารย์ เภสัชกรประจำแหล่งฝึก ทีมสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ทางด้านยา สารสนเทศด้านยา การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ เพื่อที่จะให้เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถในการริเริ่ม พัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโรคไตภายในองค์กร เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนทั่วไปเพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคไตอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพเภสัชกรที่สนใจ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th