การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 26 “Exploring the Future of Inhalation Drug Delivery”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 26 “Exploring the Future of Inhalation Drug Delivery” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-027-07-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส พัทลุง อ.เมือง จังหวัดพัทลุง |
วันที่จัดการประชุม |
|
15 -16 ก.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1. เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
5.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ปัจจัยต่าง ๆ เช่น มลภาวะ อากาศ ควันบุหรี่ ต่างเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคมีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไม่คงที่ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความสามารถในการดำรงชีวิตได้ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษา เพื่อช่วยบรรเทาและควบคุมอาการขณะเกิดการกำเริบของโรค และป้องกันปัจจัยเสี่ยงอื่นตามมาในอนาคต ปัจจุบันยาที่แนะนำตามแนวทางปฏิบัติสำหรับรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีมากมายหลายกลุ่ม มีกลไกการออกฤทธิ์และอุปกรณ์นำส่งยาที่แตกต่างกัน ทำให้เทคนิคการใช้ยาสูดพ่นเป็นส่วนสำคัญที่จะมีผลต่อผลการรักษาโรคและความสม่ำเสมอในการใช้ยาของผู้ป่วยได้ ดังนั้นเภสัชกรจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินการใช้ยา และแนะนำเทคนิคการใช้ยาสูดพ่นที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมียาที่มีชื่อสามัญเดียวกันแต่มีราคาจำหน่ายที่แตกต่างกันและมีหลายชื่อการค้า โรงพยาบาลต่างๆจึงจำเป็นต้องมีระบบการคัดเลือกยาที่เหมาะสมเพื่อมาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาจะอ้างอิงตามคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของยาที่ต้องจัดซื้อ ว่ายาแต่ละรายการควรมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไรโดยอ้างอิงหลักวิชาการ เนื่องจากยาที่ผลิตจากแต่ละผู้ผลิตอาจมีแหล่งวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา ดังนั้นเภสัชกรจึงควรต้องศึกษาค้นคว้าและติดตามข้อมูลข่าวสารด้านยาอยู่เสมอ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดหาและกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ทันสมัยรวมถึงนำความรู้มาพัฒนาดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการส่งมอบยาที่มีคุณภาพเหมาะสมและนำไปใช้กับผู้ป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องคุณภาพและสิ่งที่จำเป็นในการพิจารณาคุณภาพของยาสูดพ่น
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้เกิดการประเมินและแนะนำเทคนิคการใช้ยาสูดพ่นได้ถูกต้อง
3. เพื่อให้เภสัชกรโรงพยาบาลได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการดูแลด้านยาให้กับผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
คำสำคัญ
Inhaler Device, Inhaler Technique, Asthma and COPD Disease, Pharmaceutical Equivalence, Inhalation Drug Delivery