ชื่อการประชุม |
|
Women Health Expert : EP1 โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในร้านยา |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2002-2-000-019-08-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
online webinar |
วันที่จัดการประชุม |
|
04 ส.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) คือการตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมดและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบ ซึ่งมักสัมพันธ์กับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) และปัสสาวะเป็นหนอง (pyuria)
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่มีการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งได้แก่ ไต
ท่อไตกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ประมาณ 30-50% ของผู้หญิงคนหนึ่งจะเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะ สั้นกว่า เชื้อโรคจึงเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า โดยอาการหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยสำหรับอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ
- มีอาการปวดแสบขัด
- ปวดปัสสาวะบ่อยออกไม่สุด
- ปวดหน่วงท้องน้อยเวลาปัสสาวะ
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- อาการรุนแรงถึงขั้นปัสสาวะเป็นเลือด ทำให้กรวยไตอักเสบได้
การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะอาการและความรุนแรง ได้ตามนี้
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ซับซ้อน (uncomplicated cystitis)
2. กระเพาะอักเสบแบบซับซ้อน (complicated cystitis)
3. การมีแบคทีเรียในปัสสาวะแบบไม่ปรากฏอาการ (asymptomatic bacteriuria)
4. การติดเชื้อระบบปัสสาวะที่รักษาไม่หาย (unresolved UTI)
โดยการรักษาโรคกระปัสสาวะอักเสบสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากมีอาการมากและเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กรวยไตแล้วไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษา อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งร้านขายยาจัดเป็นหน่วยงานปฐมภูมิด่านแรกที่ช่วยในการคัดกรองและรักษาโรคกระปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นควรทราบถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกจ่ายยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถคัดกรองและทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2.ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถแยกอาการออกระหว่างการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนและทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง รวมถึงสามารถแยกการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ ตามลักษณะอาการและความรุนแรงได้
3.ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเลือกใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแบบไม่ซับซ้อน ฟอสโฟมัยซิน ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนรับลิ้งเข้าประชุม
https://zoom.us/webinar/register/WN_DWKfVGqfSAWjkvA9jdJQTg
สมัครสมาชิกสมาคม
https://www.cpat.or.th/th/member/register