โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ
ชื่อการประชุม |
|
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-041-12-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Zoom Webinar |
วันที่จัดการประชุม |
|
18 -20 ธ.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
15 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ISO/IEC 17025:2017 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้อง ปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน ประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยสามารถนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมทดสอบและ/หรือสอบเทียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบด้านตรวจวิเคราะห์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับในการดำเนินการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงานตามระบบคุณภาพ และส่งผลให้ผลการทดสอบและสอบเทียบถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ เมื่อห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองแล้ว สามารถสร้างความมั่นใจในผลของการทดสอบว่าถูกต้องตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ช่วยให้ห้องปฏิบัติการมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
การตรวจติดตามคุณภาพภายในเป็นข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ซึ่งเป็นการตรวจสอบระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบ / สอบเทียบ เพื่อให้มั่นใจว่าห้องปฏิบัติการ มีการรักษาระบบการ บริหารงานทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ตลอดจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้ที่่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจติดตาม (Auditor) จึงควรมีความรู้ และความเข้าใจในวัตถุประสงค์การตรวจ บทบาท และ พฤติกรรมที่มีผลต่อการตรวจติดตาม ลักษณะการตรวจติดตาม การวางแผนการตรวจติดตาม การเขียนรายงานการตรวจติดตาม และการตัดสินข้อบกพร่องที่พบในแต่ละกิจกรรม ในการจัดการระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบจะต้องมีความรู้เรื่องการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดและความเข้าใจด้านการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามระบบมาตราฐาน ISO/IEC 17025:2017 และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง
ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักในการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ และมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการบริการวิชาการด้านการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ดังนั้นเพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว จึงเล็งเห็นว่าบุคลากรของภาควิชาควรมีความรู้เรื่องระบบคุณภาพด้านความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการจัดโครงการ “การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหาร การตรวจติดตามระบบคุณภาพ” ขึ้น โดยอ้างอิงเนื้อหาจากมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 เพื่อให้บุคลากร
ของภาควิชาและผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้และประสบการณ์ และนำไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบคุณภาพในห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบต่อไป
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บุคลากรของภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา และผู้สนใจเข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 และสามารถปรับใช้ได้ตามบริบทของห้องปฏิบัติการ
2.เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 19011:2018 เพื่อรองรับข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017
3.เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายในของระบบ ISO/IEC 17025:2017 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ (https://www.ce.pharm.chula.ac.th/)
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-8283
หรือ e-mail: ce@pharm.chula.ac.th