โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคหัวใจ และหลอดเลือด
ชื่อการประชุม |
|
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคหัวใจ และหลอดเลือด |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
รหัสกิจกรรม |
|
1015-2-000-001-10-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรคหัวใจและทรวงอก คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว และ คลินิกผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด โรงพยาบาลชลุบรี |
วันที่จัดการประชุม |
|
01 ต.ค. 2567 - 30 ก.ย. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ จำนวน 6 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
30 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง เภสัชกรจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยาอีกทั้งในปัจจุบันองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อเตรียมเภสัชกรให้มีความรู้ สามารถนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในการประเมิน วางแผน และติดตามการบริบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตลอดจนสามารถริเริ่มและพัฒนางานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชลบุรีจึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (โรคหัวใจและหลอดเลือด) Certificate in Pharmacy (Cardiovascular disease) โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา ฝึกทักษะการให้บริบาลแก่ผู้ป่วย และได้ปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบื้องต้นได้ ให้ความรู้ ด้านการใช้ยาสำหรับการรักษามาตรฐาน และการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยได้
3. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมนำข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการบริบาล ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสม และสามารถประสานงาน สื่อสารร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้การดูแลผู้ป่วย
4. เพื่อให้เภสัชกรผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถริเริ่มและพัฒนาคุณภาพการบริบาลทางเภสัชกรรม ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในหน่วยงาน
5. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลชลบุรีและ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
6. เผยแพร่ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาให้เป็นที่รู้จัก
คำสำคัญ
โรคหัวใจและหลอดเลือด, หลักสูตร, เภสัชกร