ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
อบรมเชิงปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการใช้งานระบบแพลตฟอร์มติจิทัลรายงานผลตรวจทางพันธุกรรม "ผูกพันธุ์"
ชื่อการประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการใช้งานระบบแพลตฟอร์มติจิทัลรายงานผลตรวจทางพันธุกรรม "ผูกพันธุ์"
สถาบันหลัก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
รหัสกิจกรรม 3002-2-000-002-06-2567
สถานที่จัดการประชุม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก
วันที่จัดการประชุม 26 มิ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับงานเภสัชพันธุศาสตร์จาก รพ. ในเขตสุขภาพที่ 2 และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ ได้เปิดให้บริการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ก่อนการเริ่มยา (ตรวจยืนแพ้ยา) เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ยารุนแรง ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการจะถูกส่งให้ผู้ป่วยและแพทย์ เพื่อทําการวางแผนการรักษาและอธิบายวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ยา ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ดังกล่าวยังอยู่ในฐานข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่สามารถส่งต่อข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ให้โรงพยาบาลอื่นได้
ดังนั้นจึงพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล มีชื่อว่า “ผูกพันธุ์” เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ ที่ให้บริการตรวจโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษาสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ โดยมีการพัฒนามาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามระบบ HL7 ซึ่งเป็นการกําหนดกรอบข้อมูลในการแลกเปลี่ยน และกําหนดรหัสมาตรฐานในการเรียกชื่อการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ รหัสมาตรฐานการเรียกชื่อยา โดยข้อมูลผลการตรวจทางพันธุกรรมที่ใช้ครอบคลุม 4 การทดสอบคือ
1. การตรวจเอชแอลเอบี 58:01 อัลลีล (HLA-B*58:01 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
2. การตรวจเอชแอลเอบี 57:01 อัลลีล (HLA-B*57:01 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
3. การตรวจเอชแอลเอบี 15:02 อัลลีล (HLA-B*15:02 allele) ด้วยปฏิกิริยาพีซีอาร์
4. การตรวจการตรวจแนททูดิบโพลทัยป์ (NAT2-diplotype)
ปีงบประมาณ 2567 อบรมการใช้งานให้แพทย์ เภสัชกร และห้องปฏิบัติการ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ผลการตรวจเพื่อวางแผนป้องกันและรักษาได้อย่างจําเพาะบุคคล

วัตถุประสงค์
ให้ความรู้เภสัชพันธุศาสตร์ ข้อมูลตรวจยีนแพ้ยาและสถานการณ์ของประเทศ และการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มชื่อ ผูกพันธ์ุ
คำสำคัญ
เภสัชพันธุศาสตร์ ยีนแพ้ยา แพลตฟอร์ม ผูกพันธ์ุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์