ชื่อการประชุม |
|
(Online)GI Expert Program |
สถาบันหลัก |
|
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
รหัสกิจกรรม |
|
2001-2-000-030-07-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรง
โรงแรมในกรุงเทพ |
วันที่จัดการประชุม |
|
07 ก.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
สมาชิก เภสัชกรและบุคคลทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในบริบทของสถานพยาบาลและร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มผู้มาใช้บริการในร้านขายยา ไม่ว่าจะเป็นอาการอุจจาระร่วง อาการท้องผูก กรดไหลย้อน รวมถึงโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งแนวทางการรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารดังกล่าวได้มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมองค์ความรู้รวมถึงงานวิจัยใหม่ๆอยู่เสมอ ผู้ที่มาใช้บริการเองมีความคาดหวังที่จะได้รับการบริการและคำแนะนำในการรักษาตนเองให้หายจากโรค เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้ารับการอบรมเพื่อที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคในระบบทางเดินอาหารในทุกมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเภสัชกรมีความเชี่ยวชาญสามารถจำแนกโรคและแนะนำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้ที่มาใช้บริการย่อมมีความไว้วางใจและเชื่อมั่นนาตรฐานของการบริบาลเภสัชกรรม
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีโครงการอบรมวิชาการ หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหาร ในชื่อ “GI Expert Program” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร อาการแสดง อุบัติการณ์ สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค และแนวทางการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย สำหรับอาการอุจจาระร่วง อาการท้องผูก กรดไหลย้อน และโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งจะเปิดให้เภสัชกรร้านขายยาที่สนใจและต้องการเพิ่มพูนความรู้ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารได้เข้ารับการอบรม ทั้งหมด 3 โมดูลที่ครอบคลุม แนวทางการรักษาโรค หลักการเลือกยาคุณภาพ และการเลือกใช้ยา ผลิตภัณฑ์และแนวทางการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงบทบาทของเภสัชกรในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหาร
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร อาการแสดง อุบัติการณ์ สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคทางเดินอาหาร
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้และเข้าใจถึงแนวทางการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย สำหรับอาการอุจจาระร่วง อาการท้องผูก กรดไหลย้อน และโรคลำไส้แปรปรวน
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถประยุกต์ใช้ความรู้การเลือกยาคุณภาพ การเลือกใชยาในการรักษาโรคทางเดินอาหาร ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงบทบาทของเภสัชกรกับการดูแลรักษาโรคทางเดินอาหาร และมีความเชี่ยวชาญในการรักษาและให้คำแนะนำในการรักษาโรคทางเดินอาหารหลังจากเข้าร่วมอบรมครบทั้ง 3 โมดูล
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th