การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-006-05-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม The Tide Resort และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่จัดการประชุม 23 -24 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์และผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ 20 สถาบัน จำนวน 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ประสานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเภสัชกรไทยมาอย่างเนิ่นนาน ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษาขึ้นเพื่อดูแลกิจกรรมและประสานงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ สถาบันต่าง ๆ สืบเนื่องกับการดำเนินกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2566 ในประเด็นหลัก Foresight in Pharmacy Education: The Next Move ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับคณะอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษา ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามกรอบทิศทางการศึกษาและสภาพสังคมนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพสังคม ฐานเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ต้องเร่งดำเนินการเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ในการนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษา ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) จึงได้ดำเนินการจัดโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2567 ขึ้น ในวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เพื่อให้คณะเภสัชศาสตร์ ทุกสถาบันก้าวเข้าสู่สังคมยุคใหม่ พัฒนาและยกระดับการศึกษาภายใต้วิชาเภสัชกรรมไปพร้อมกัน โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย การพบปะทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากแต่ละสถาบัน การบรรยายจากวิทยากรระดับประเทศ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และการนำเสนอผลงานวิจัย กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความสัมพันธ์ ทัศนคติและความเข้าใจอันดีต่อกัน รวมถึงการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาและเติบโตเป็นวิชาชีพเภสัชกรรมที่แข็งแกร่งต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรับทราบข้อมูลสำคัญ สถานการณ์ และทิศทางการจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ของไทย
2. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์การดำเนินการด้านเภสัชศาสตรศึกษาระหว่างคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเภสัชศาสตรศึกษา และร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนมุมมองผลงานวิจัยในกลุ่มคณาจารย์เภสัชศาสตร์
คำสำคัญ