ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการนานาชาติทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ครั้งที่ 1 The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos)
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนานาชาติทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ครั้งที่ 1 The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-035-11-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 18 -19 พ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและเติบโตแบบก้าวกระโดดมากขึ้นหลังช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งแก่วงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ บุคลาการทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญและติดตามการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ความใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพความงามและผิวพรรณนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากสหสาขาวิชาเริ่มให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพความงามเพิ่มมากขึ้น ยังผลให้มีความก้าวหน้าทางการแพทย์และนวัตกรรมต่างๆ มากมายทั่วโลก
จากยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ของสำนักงานเลขานุการของคณะ กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งแผนพัฒนานโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2555-2564) ของรัฐบาล ได้มุ่งผลักดันประเทศไทยให้ไปสู่ “ประเทศแห่งนวัตกรรม (Innovation Nation)” กล่าวคือเป็น ประเทศที่พร้อมเติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมอันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมได้ การจะก้าวไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคตนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยช่วยเพิ่มศักยภาพภาคการผลิตและบริการในการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถเร่งพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมผ่านการเชื่อมโยงภาคเอกชน ภาครัฐ การศึกษาและสังคมเพื่อสร้างระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็งจากพื้นฐานได้อีกด้วย
ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรมและหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิทยา ศาสตร์เครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ครั้งที่ 1 (The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos)) เพื่อเป็นเวทีวิชาการ ที่เปิดโอกาสให้กับคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษาทั้งจากคณะเภสัชศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจทุกท่านจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมรับฟังความก้าวหน้า ด้านการวิจัยทางเภสัชกรรมและนวัตกรรมทางเครื่องสำอาง โดยการประชุมจะประกอบ ด้วยการบรรยาย พิเศษโดยวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ การนำเสนอผลงานวิจัยจากนักวิจัยรับเชิญที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวง วิชาการทั้งในและต่างประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยของตนเองในรูปแบบ ปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ (Oral and Poster presentation) ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์วิจัย รวมถึงการนำผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในอนาคต โดยครอบคลุม เนื้อหาดังนี้
1.Scientific Insights into Skin Health and Vitality: Achieving Balance for Healthy Skin
2.Technological Advances and Future Outlook in Pharmaceutical and Cosmetic Industry

อีกทั้ง การประชุมวิชาการนานาชาติทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ครั้งที่ 1 (The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos)) ที่จะจัดขึ้นได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์จาก School of Pharmacy, Monash University Malaysia, Malaysia เพื่อให้เกิดการสร้างเครื่องข่ายนักวิจัย (international linkage) ในระหว่างคณาจารย์จากสองสถาบัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์วิจัย และส่งเสริมความร่วมมือในงานวิจัยระหว่างนักวิจัยชาวไทยและนักวิจัยต่างชาติอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปิดโอกาสให้ นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าและความเป็นผู้นำ ทางวิชาการของประเทศไทยในระดับภูมิภาค
2. เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม
3. เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยชาวไทยได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับนักวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เครื่องสำอางและวิทยาการที่ทันสมัยของต่างประเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในระดับ สถาบันต่อไปในอนาคต
4. เพื่อให้มีผลผลิตร่วมกับนักวิชาการหรือนักวิจัยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติที่เชิญมา ซึ่งคาดว่าจะได้รับ อย่างน้อย 2 ชิ้นจากรายการต่อไปนี้
4.1 โครงการวิจัยที่ยื่นขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก ที่มีงบประมาณไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
4.2 ผลงานตีพิมพ์ที่มีผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ร่วมโครงการเป็นชื่อแรก (First author) หรือผู้วิจัยหลัก (Corresponding author) ในวารสารระดับนานาชาติที่มี impact factor ที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI SCOPUS หรือ PUBMED ในระดับควอร์ไทล์ 1 ขึ้นไปสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
4.3 ผลงานที่มีผลกระทบต่อสังคมและ/หรือเศรษฐกิจ ที่มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ICPcos@pharm.chula.ac.th