โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care of Patient with Heart Failure)
ชื่อการประชุม |
|
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care of Patient with Heart Failure) |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-034-10-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ ชั้น 12 อาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาฯ |
วันที่จัดการประชุม |
|
01 -31 ต.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
30 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยา การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การใส่เครื่องพยุงหัวใจ และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น โดยจะพิจารณาเลือกการรักษาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว นำไปสู่การปรับแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guidelines) ให้เท่าทันความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงและยังมีอัตราการกลับมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้บ่อย ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมักมีการดำเนินโรคที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาที่ผ่านไป ขาดความรู้ในการดูแลตนเอง มีโรคร่วมหลายชนิด ซึ่งนำไปสู่ความซับซ้อนในการเลือกการรักษาหรือเกิดปัญหาจากการใช้ยาได้
ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม จึงเล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่ต้องมีความรู้ ทักษะ และชำนาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มงานภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว) Certificate in Pharmacy (Pharmaceutical Care of Patient with Heart Failure) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงานทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ณ คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว คลินิกผู้ป่วยปลูกถ่ายหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงการฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยในที่มีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเข้ารับการรักษา เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
หลักสูตรนี้เน้นถึงการทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อสามารถนำไปปฏิบัติ ตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม การฝึกปฏิบัติวิชาชีพจะเน้นการใช้ evidence based practice ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ มีองค์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดเชิงลึกในการบริบาลทางเภสัชกรรม มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผนติดตาม ประเมินผล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา ส่งเสริม สนับสนุนและให้ข้อมูลการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัย สามารถสื่อสารและประสานงานกับบุคลากรทางสาธารณสุขสาขาอื่นๆ อย่างเป็นระบบ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข (service plan) นำไปสู่การพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยในเครือข่ายได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และช่วยเพิ่มกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีความต่อเนื่องยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตร มีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถบูรณาการความรู้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ งานวิจัยมาใช้ในการประเมิน คัดกรอง วินิจฉัย วางแผน และให้การบริบาลเพื่อการบำบัดรักษาด้วยยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เภสัชกรผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ จะมีความสามารถ ดังนี้
1)ให้บริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งสามารถประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบื้องต้นได้ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยามาตรฐานสำหรับผู้ป่วย รวมถึงการปฏิบัติตัวระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว
2)นำข้อมูลเชิงประจักษ์ และ/หรือ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการบริบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
3)ประสานงานกับบุคลากรของทีมสุขภาพและหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
4)ริเริ่มและพัฒนาคุณภาพการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในหน่วยงานโดยมีความสอดรับกับนโยบายด้านแผนการให้บริการผู้ป่วยโดยใช้ความรู้จากทฤษฎี ประสบการณ์ทางคลินิก และข้อมูลเชิงประจักษ์
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283
e-mail: ce@pharm.chula.ac.th