ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care
ชื่อการประชุม โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-032-06-2567
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
วันที่จัดการประชุม 01 -30 มิ.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินไปของโรคและป้องกันการเสียชีวิต รวมทั้งผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี หลักสูตรฯ นี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาล เภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย และตอบสนองต่อนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในลักษณะการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโดยตรง และการพัฒนาศักยภาพของทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการสัมผัสจริงในการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย และการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอาจารย์และเภสัชกรวิชาชีพ

หลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือดร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด จึงได้ร่วมมือกับ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด) Certificate in Pharmacy (Cardiovascular Pharmaceutical Care) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (cardiac care unit) ชั้น 4 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงการฝึกปฏิบัติงาน ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลว ชั้น 12 อาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข


เภสัชกรที่ผ่านหลักสูตรจะมีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือดทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน นำไปสู่การพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยในเครือข่ายได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
หลักสูตรนี้เน้นถึงการทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติ ตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือดได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม การฝึกปฏิบัติวิชาชีพจะเน้นการใช้ evidence based practice ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มีองค์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดเชิงลึกในการบริบาลทางเภสัชกรรม มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผนติดตาม ประเมินผลป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา ส่งเสริม สนับสนุนและให้ข้อมูลการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัย สามารถสื่อสารและประสานงานกับบุคลากรทางสาธารณสุขสาขาอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตร มีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคหัวใจล้มเหลว สามารถบูรณาการความรู้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ งานวิจัยมาใช้ในการประเมิน คัดกรอง วินิจฉัย วางแผน และให้การบริบาลเพื่อการบำบัดรักษาด้วยยาทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เภสัชกรผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ จะมีความสามารถ ดังนี้

1. ให้บริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งสามารถประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบื้องต้นได้ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด รวมถึงการปฏิบัติตัวระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว

2. นำข้อมูลเชิงประจักษ์ และ/หรือ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการบริบาลผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

3. ประสานงานกับบุคลากรของทีมสุขภาพและหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและในชุมชน

4. ริเริ่มและพัฒนาคุณภาพการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในหน่วยงานโดยมีความสอดรับกับนโยบายด้านแผนการให้บริการผู้ป่วยโดยใช้ความรู้จากทฤษฎี ประสบการณ์ทางคลินิก และข้อมูลเชิงประจักษ์
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th