การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-030-07-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ ฮอลล์ 1-6 อิมแพ็คเมืองทองธานี
วันที่จัดการประชุม 03 -05 ก.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทย ,นักวิชาการ , นิสิต นักศึกษา , องค์กรธุรกิจ/ภาคเอกชน องค์กรชุมชน ,ประชาชนผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากการแถลงคำประกาศอัลมาอตา(AlmaAtaDeclaration)โดยองค์การอนามัยโลก“การสาธารณสุขมูลฐานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อความยุติธรรมในสังคมและเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่เป้าหมายการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ”ประเทศไทยหนึ่งในสมาชิกร่วมลงนามแถลงได้มีการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมและปลอดภัยโดยมีการสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรและการแพทย์ดั้งเดิมมาใช้ในระบบบริการเพิ่มมากขึ้นภายใต้แผนยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลกสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ได้กำหนดให้มีการสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามมาตรา ๕๕ นอกจากนี้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี(พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐)ได้สนับสนุนการเสริมสร้างใหค้นไทยมีสุขภาวะที่ดีด้วยการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะและการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะรวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สุงขึ้นโดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”และเป้าหมาย SDGs ที่ ๓ สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดีและล่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติดั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๖๖ พบว่าประขาขนมีแนวโน้มการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพลดลงโดยในปี พ.ศ.๒๕๕๔ มีร้อยละ ๕.๕๕ ในขณะที่ปี พ.ศ.๒๕๖๖ มีเพียงร้อยละ ๑.๑๒ เท่านั้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพของสมุนไพรอยู่ในระดับที่น้อยมาก ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายคือการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ในการเลือกใช้ยาสมุนไพรรวมถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเมื่อมีอาการเจ็บป่วยซึ่งคือหัวใจหลักของการยกระดับการแพทย์ดั้งเดิมของประเทศการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งขาติฯจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและผสานพลังภาคีเครือข่ายในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาขนรวมถึงการบูรณาการและสื่อสารข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องแก่ประขาชน เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพนำไปสู่ การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนอย่างไรก็ดีการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจะไม่มุ่งเน้นให้ความรู้ กับประขาชนแบบเดิมๆหากแต่พุ่งเป้าไปที่“การพัฒนาทักษะและศักยภาพ”ของคนและชุมชนให้สามารถ “ค้นหาคำตอบ” ตลอดจนสามารถ “เข้าถึงแหล่งข้อมูล” และ “ตรวจสอบ” ข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ,๒๕๖๔)
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกถือเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจที่เกี่ยวช้องกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโดยมีการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถปุระสงค์หลักในการจัดงานในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุขคือการแสดงคุณค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยและคนทั่วโลกมั่นใจในผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยโดยนำศักยภาพของเครือข่ายมาประสานเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเปิดโลกทัศน์การดูแลรักษาสุขภาพของคนไทยในปีที่ผ่านมากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกขนที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๕๐ องค์กร จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯซึ่งพบว่ามีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งขาติฯครั้ง ที่ ๒๐ มากกว่าครั้งที่ผ่านมาทั้งใน แบบ Onsite และ Online รวม ๒๐๘,๖๔๕ คน มผีลงานวิชาการและนวัตกรรมด้านการแพทย์แผนไทยฯการประกวดและนำเสนอภายในงานการประชุมวิชาการประจำปีฯ ส่งเข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งหมด ๗๕ เรื่อง และเกิดมูลค่าการชื้อขายภายในงาน จำนวน ๒๕๐ ล้านบาท และเกิดการกระจายรายได้ไปสู่เครือข่ายผู้เข้าร่วมงานเกิดความเชื่อมั่น ชอบ และใช้ต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสานและสมุนไพรไทยมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๙๐.๖
ดังนั้นเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสร้างความเชื่อมั่นสู่การใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตของประชาชน จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและยกระดับนวัตกรรมสู่ระดับนานาชาติ และหนุนเสริมและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้านบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกและผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในระดับขาติและนานาชาติกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในฐานะองค์กรหลักด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ผสานพลังภาคีเครือข่ายเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและหนุนเสริมเศรษฐกิจจึงได้จัดทำโครงการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติครั้งที่ ๒๑
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นเวทีสื่อสารนโยบายและยกระดับวิชาการสู่นวัตกรรมด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนา และขับเคลื่อนอย่างมปีระสิทธิภาพ
๒. เพื่อส่งเสริมการมสี่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐเอกขนและองค์กรพัฒนาเอกขนในการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรเพื่อพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพและเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
๓. เพื่อหนุนเสริมและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้านบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกและผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ภายในสำนักงาน 02-149-4649 ต่อ 2417 E-mail:herbexpo58@gmail.com